การจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนกันยายน 2566 และไตรมาส 3/2566 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
การจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนกันยายน 2566 และไตรมาส
3/2566
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นายจิตรกร ว่องเขตกร รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เปิดเผยการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนกันยายน 2566 และไตรมาส 3/2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผลการจดทะเบียนธุรกิจ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนกันยายน
2566
- จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือนกันยายน
2566 จำนวน 7,107 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 24,170.64 ล้านบาท
- ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ คือ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 562 ราย
คิดเป็น 8% ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
จำนวน 529 ราย คิดเป็น 7% รองลงมา และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 344 ราย คิดเป็น 5% ตามลำดับ
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน
โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 4,498 ราย คิดเป็น 63.29% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 2,466 ราย คิดเป็น 34.70%
ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 121 ราย คิดเป็น 1.70% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 22 ราย คิดเป็น 0.31% ตามลำดับ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่ไตรมาส 3/2566
- จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่
มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ ไตรมาส 3/2566 จำนวน
21,379 ราย เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2566 จำนวน 21,104 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 275 ราย คิดเป็น 1.3% และเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2565 จำนวน 20,495 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 884 ราย คิดเป็น 4.31%
- ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก
ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 1,691 ราย คิดเป็น 8% รองลงมา
คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,491 ราย คิดเป็น 7% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหารจำนวน 1,046 ราย
คิดเป็น 5% ตามลำดับ
- มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีจำนวนทั้งสิ้น 65,724.60 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2566 จำนวน 89,052.06 ล้านบาท ลดลงจำนวน 23,327.45
ล้านบาท คิดเป็น 26.20% และเมื่อเทียบกับไตรมาส
3/2565 จำนวน 73,332.21 ล้านบาท ลดลงจำนวน 7,607.61 ล้านบาท คิดเป็น 10.37%
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน
โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่
ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 13,743 ราย คิดเป็น 64.28% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 7,274 ราย
คิดเป็น 34.02% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท
มีจำนวน 306 ราย คิดเป็น 1.43%
และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 56 ราย คิดเป็น 0.26%
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนกันยายน 2566
- จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนกันยายน
2566 มีจำนวน 2,039 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 17,229.98 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
- ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป
จำนวน 167 ราย คิดเป็น 8% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
จำนวน 103 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 68 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
- ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน
โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1
ล้านบาท จำนวน 1,407 ราย คิดเป็น 69.00% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 529 ราย คิดเป็น 25.94% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า
5-100 ล้านบาท จำนวน 87 ราย คิดเป็น 4.27% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 16 ราย คิดเป็น 0.78%
ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการไตรมาส
3/2566
- จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำไตรมาส 3/2566 มีจำนวน 5,913 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 31,795.92 ล้านบาท
ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
- ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก
ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 514 ราย คิดเป็น 9% รองลงมาคือ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 291 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 164 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
- ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท
จำนวน 4,165 ราย คิดเป็น
70.44% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5
ล้านบาท จำนวน 1,488 ราย คิดเป็น 25.16% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 228 ราย คิดเป็น 3.86% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 32 ราย คิดเป็น 0.54% ตามลำดับ
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ 30 กันยายน 2566
- ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 30 ก.ย. 66) ธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน
885,521 ราย มูลค่าทุน 21.50 ล้านล้านบาท
จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 200,156 ราย คิดเป็น 22.60% บริษัทจำกัด จำนวน 683,936 ราย คิดเป็น 77.24%
และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,429 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ
- ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1
ล้านบาท จำนวน 515,270 ราย คิดเป็น 58.19% รวมมูลค่าทุน 0.45 ล้านล้านบาท
คิดเป็น 2.10% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 273,716 ราย คิดเป็น 30.91% รวมมูลค่าทุน 0.94 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.37% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 78,684
ราย คิดเป็น 8.89% รวมมูลค่าทุน 2.16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10.03%
และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 17,851
ราย คิดเป็น 2.02% รวมมูลค่าทุน 17.95 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.50% ตามลำดับ
การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว
เดือนกันยายน 2566
- เดือนกันยายน 2566
มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น มีจำนวน 59 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 22 ราย
และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 37 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 18,229 ล้านบาท ทั้งนี้
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2566
จำนวนธุรกิจที่คนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น 2% (เพิ่มขึ้น 1 ราย)
ในขณะที่เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 1.67 เท่า (เพิ่มขึ้น 11,389 ล้านบาท)
- นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น
จำนวน 12 ราย เงินลงทุน 948 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ อเมริกา จำนวน 9 ราย เงินลงทุน
916 ล้านบาท และ สิงคโปร์ จำนวน 6 ราย เงินลงทุน 6,524 ล้านบาท ตามลำดับ
ปี
2566 (มกราคม - กันยายน)
- เดือนมกราคม - กันยายน 2566 คนต่างชาติได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
จำนวน 493 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 84,013 ล้านบาท
*******************************
การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือนกันยายน
2566
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล และ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวก เพื่อลดต้นทุน
ลดเวลา และลดการใช้กระดาษ โดยพัฒนางานบริการทุกกระบวนการของกรมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ใช้บริการยื่นขอรับบริการได้ทุกที่
ทุกเวลาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และประกาศกรมเรื่องการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
การบริการหนังสือรับรองข้อมูลนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์และผลักดันการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ได้ยกระดับการเป็นหน่วยงานรัฐบาลดิจิทัล โดยการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Digital
Signature) มาให้บริการ ซึ่งการบริการ e-Service
เป็นการบริการขอหนังสือรับรองผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยในปี 2566 (ม.ค.
- ก.ย.) มีจำนวนขอรับข้อมูล 2,937,008 ราย ซึ่งผ่านช่องทาง Self
Pick up มีจำนวน 1,213,405 ราย EMS จำนวน 242,951 ราย Delivery จำนวน 23,282 ราย
และการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
(e-Certificate
File) จำนวน 1,457,370 ราย และรองรับการให้บริการหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติและสมาคมการค้า
หนังสือรับรองภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ การขอรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากผ่านทาง www.dbd.go.th แล้ว สามารถขอรับบริการผ่านทาง Application DBD e- Service ได้ทั้งระบบ Android และ IOS
การให้บริการขอหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล
ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ส่วนกลาง)
และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-6 ให้ขอรับบริการได้เฉพาะทางอิเล็กทรอนิกส์
(DBD e-Service) ผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(www.dbd.go.th) เท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2563
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขยายเวลาการลดอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง
และค่าธรรมเนียมอื่นเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทลง 50% สำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจ
(พื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา
จังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย
และจังหวัดสตูล) ซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ให้ขยายไปสิ้นสุดวันที่
31 ธันวาคม 2566
DBD e - Filing การนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์
การนำส่งงบการเงินของนิติบุคคลที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดปี
2565 ณ
วันที่ 30 กันยายน 2566 มีนิติบุคคลนำส่งงบการเงินแล้ว จำนวน 647,603 ราย
คิดเป็น 80% ของนิติบุคคลที่ต้องนำส่งงบการเงินโดยนำส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD
e-Filing) จำนวน 644,676 ราย คิดเป็น 99.5%
และนำส่งในรูปแบบกระดาษ จำนวน 2,927 ราย คิดเป็น 0.5% กรมจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ภาคธุรกิจ
สมาคมการค้า หอการค้าที่ยังไม่ได้นำส่งงบการเงินประจำปี 2565 ให้นำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD
e-Filing) เป็นหลัก เช่นเดียวกับ
การนำส่งงบการเงินของนิติบุคคลที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดปี
ทั้งนี้การนำส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นสามารถนำส่งได้ทุกที่ ทุกเวลา
และสามารถตรวจสอบข้อมูลงบการเงินผ่าน DBD Data Warehouse หรือ
DBD Service ผ่าน Application ได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าทางธุรกิจ
และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินประกอบการทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าระบบ DBD e-Filing จะเป็นหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนและสนับสนุนภาคธุรกิจไทยให้ก้าวสู่การค้าในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเป็นรูปธรรม
e-Certificate บริการระบบหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์
ผ่านธนาคาร
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดระบบการให้บริการหนังสือรับรอง
และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคาร (e-Certificate)
ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2555 และผ่านการรับรองระบบพิมพ์ออกฯ จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)
จึงเป็นนวัตกรรมที่สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง
สะดวก รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ และเป็นไปตามกฎหมาย ที่กำหนด
ทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการ ณ
สาขาธนาคารใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการได้รวมทั้งสิ้น 10 ธนาคาร จำนวน 3,226 สาขา
e-Secured
จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร
ผ่าน Web Application และ Web Service แบบ Host to Host และชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และออกใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเจ้าพนักงานทะเบียนลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Digital Signature) รวมถึงสามารถตรวจค้นข้อมูลการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
ผ่าน Application : DBD e-service ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
และผ่านเว็ปไซต์ Biz Portal ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(สพร.) ทั้งนี้ ตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 796,444 คำขอ
มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 16,245,963 ล้านบาท
โดยมีการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและใช้ประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน
สำหรับเดือนกันยายน
2566 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 7,032 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 127,383
ล้านบาท โดยทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจมากที่สุด ได้แก่ สิทธิเรียกร้อง เช่น
บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิทธิการเช่า คิดเป็นร้อยละ 67.42 (มูลค่า 85,883 ล้านบาท) รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร
สินค้าคงคลัง คิดเป็นร้อยละ 32.57 (มูลค่า
41,492 ล้านบาท) กิจการ มีการจดทะเบียน คิดเป็นร้อยละ 0.01 (มูลค่า 7 ล้านบาท)
ทั้งนี้ มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 561 คำขอ
และจดทะเบียนยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 7,186 คำขอ โดยมีผู้รับหลักประกัน
จำนวนทั้งสิ้น 391 ราย
e-Registration การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์
การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์
ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2566 มีการยืนยันการใช้งาน (Activated) จำนวน 195,387 ราย รับจดทะเบียน 146,419 ราย ซึ่งกรมได้มีการเตรียมการพัฒนาระบบให้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น
ทั้งด้านการยืนยันตัวตนนิติบุคคลและการใช้ระบบงาน
รวมถึงการเชื่อมโยงเพื่อสร้างความพร้อมในการดำเนินธุรกิจให้แก่ SME ทั้งด้านการเงินและซอฟแวร์ รวมทั้งการให้บริการสำเนาเอกสารทะเบียนนิติบุคคลรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนผ่านระบบ e-Registration
กรมได้เปิดบริการการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Registration ในสำนักงานพาณิชย์ทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามแนวนโยบายในการเป็นรัฐบาลดิจิทัล
(Digital Government) และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์
(e-Registration) ให้มีความคล่องตัวและสะดวกยิ่งขึ้น
DBD Connect เชื่อมระบบบัญชีสู่การยื่นงบการเงินออนไลน์ (DBD e-Filing)
กรมฯ
ร่วมกับผู้ผลิตซอฟแวร์บัญชีชั้นนำของประเทศ จำนวน 16 ราย (20 โปรแกรม)
พัฒนาการเชื่อมโยงซอฟต์แวร์บัญชีกับระบบการนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
(DBD e-Filing) แบบอัตโนมัติ ผ่านระบบ DBD Connect
อำนวยความสะดวกการจัดทำบัญชีและงบการเงินสำหรับนักบัญชีให้สามารถนำส่งงบการเงินในรูปแบบ XBRL
ที่เชื่อมโยงข้อมูลทางบัญชีพร้อมนำส่งงบการเงินผ่าน DBD
e-Filing ได้โดยตรง และไม่ต้องกรอกข้อมูลงบการเงินซ้ำ
การบริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจร (Total Solution for SMEs) และ e-Accounting for SMEs
Total Solution for SMEs เป็นการขับเคลื่อน SMEs ด้วยนวัตกรรม
โดยส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีในการบริหารจัดการธุรกิจที่ครบวงจรได้โดยง่าย
เปลี่ยน Traditional SMEs เป็น
Smart SMEs ซึ่งกรมได้รวบรวมโปรแกรมด้านการบริหารจัดการทั้ง 3 ภาคส่วนไว้ด้วยกันคือ โปรแกรมสำนักงาน
(Office) โปรแกรมหน้าร้าน (POS) โปรแกรมบัญชี online
(Cloud Accounting)
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 25 โปรแกรม
นอกจากนี้ กรมฯ
ยังได้แจกฟรี "โปรแกรม e-Accounting for SMEs" ซึ่งเป็นโปรแกรมหน้าร้าน (POS)
ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการค้าขาย เช่น
มี Scanner เพื่อซื้อขายสินค้าในตัว
มีฐานข้อมูลของสินค้ามากกว่า 10,000 รายการ เป็นต้น
โดยร้านค้าสามารถสมัครขอใช้งานโปรแกรม e-Accounting
for SMEs ได้ผ่านทางโครงการ Total Solution for SMEs
หรือดาวน์โหลดได้ที่ Google Play Store ในระบบ Android
DBD Data Warehouse
กรมได้พัฒนาระบบสารสนเทศให้มีความสมบูรณ์หลากหลาย
และสามารถจัดทำผลวิเคราะห์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลธุรกิจ ประกอบด้วยข้อมูลนิติบุคคล
ข้อมูลและวิเคราะห์งบการเงิน ข้อมูลซัพพลายเออร์ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ ข้อมูลโอกาสทางธุรกิจ ข้อมูลการลงทุนจากต่างชาติในนิติบุคคลไทย
รวมทั้งข้อมูลสถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้
SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล พร้อมทั้งนำข้อมูลธุรกิจไปสนับสนุนการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยในปี
2566 (ม.ค.-ก.ย.)
มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้นจำนวน 25,790,893 ครั้ง
****************************
ที่มา
: กองข้อมูลธุรกิจ ฉบับที่ 147 / วันที่ 24 ตุลาคม 2566