รัฐ ร่วม เอกชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยพลังคนตัวเล็ก
รัฐ ร่วม เอกชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยพลังคนตัวเล็ก
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
จับมือ เครือข่ายธุรกิจ MOC
Biz Club ทั่วประเทศ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นดำเนินธุรกิจให้สอดรับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน พร้อมระดมความคิดวางแนวทางรับมือวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น
เห็นพ้องภาคธุรกิจต้องประสานมือกันให้แน่น สร้างคอนเนกชันโครงข่ายเชื่อมโยงพันธมิตรทุกประเภทธุรกิจ..ส่งต่อความรู้
พัฒนาผลิตภัณฑ์ แชร์เคล็ดลับบริหารธุรกิจ
และแนะนำลูกค้าระหว่างกัน ขณะที่อีกด้าน..ต้องเร่งเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ
ให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการ ใช้อิทธิพล Soft Power ขยายโอกาสทางการค้าให้กว้างขวางและเข้มแข็งมากขึ้น
พร้อมเตือน!! โลกกำลังเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจดิจิทัล ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัวทุกด้าน
เพื่อลดความเสี่ยงธุรกิจขนาดเล็กหลุดออกจากระบบธุรกิจ
มั่นใจ!! คนตัวเล็กจะเป็นพลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
และเป็นกลไกที่ช่วยฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ
นางอรมน
ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า "วันนี้ (วันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567) กระทรวงพาณิชย์ โดย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ เครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ทั่วประเทศ
ร่วมกันจัดงานสัมมนา 'พลิกโฉมธุรกิจ พิชิตโอกาส' ณ โรงแรมโพธิ์วดล รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.เชียงราย โดยการจัดงานครั้งนี้
สาระสำคัญ คือ การเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นการดำเนินธุรกิจให้สอดรับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
ระดมความคิดหาแนวทางการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจที่ภาคธุรกิจกำลังเผชิญอยู่
รวมทั้ง สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ใช้เครือข่ายพันธมิตรเป็นเครื่องมือช่วยบริหารจัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
โดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนและนำข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นไปกำหนดเป็นนโยบายเพื่อขับเคลื่อนภาคธุรกิจ ขณะที่ภาคเอกชน (เครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย/รายย่อมนำเสนอประสบการณ์/สิ่งที่ได้สัมผัสพบเจอในการประกอบธุรกิจมาแลกเปลี่ยนความเห็น
ระดมความคิด และร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจเชิงรุกเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า
รับมือวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ลดความเสี่ยงธุรกิจขนาดเล็กที่อาจจะหลุดออกจากระบบธุรกิจ
เกิดรูปแบบโครงสร้างธุรกิจใหม่ที่พร้อมเผชิญและรับมือกับทุกสถานการณ์
เบื้องต้น เห็นพ้องว่าท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
ภาคธุรกิจต้องบูรณาการและประสานความร่วมมือกันให้แนบแน่นมากยิ่งขึ้น
เปลี่ยนคู่แข่งทางธุรกิจให้เป็นพันธมิตรที่คอยส่งเสริมสนับสนุนระหว่างกัน โดยสร้างคอนเนกชันโครงข่ายที่เชื่อมโยงพันธมิตรทุกประเภทธุรกิจเข้าด้วยกัน
สร้างลำดับพันธมิตรเพื่อให้ง่ายต่อการส่งต่อองค์ความรู้ใหม่ๆ
ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ แลกเปลี่ยนมุมมองการบริหารธุรกิจ และแนะนำลูกค้าระหว่างกัน
โดยปัจจุบัน เครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club มีสมาชิกอยู่ทั่วประเทศจำนวน 14,214 ราย ครอบคลุมเกือบทุกประเภทธุรกิจทั้งสินค้าและบริการ
หากมีการเชื่อมโยงโครงข่ายที่กว้างขวางจะเกิดการเชื่อมต่อธุรกิจจากจังหวัดและประเภทธุรกิจหนึ่งไปยังอีกจังหวัดและอีกประเภทธุรกิจหนึ่งที่แตกต่างกัน
เติมเต็มวัฏจักรธุรกิจให้ครบวงจรและมีความสมบูรณ์มากขึ้น ส่งผลให้เกิดพลวัตทางเศรษฐกิจที่มีการเชื่อมต่อที่ละเอียดมากขึ้น เกิดการเคลื่อนย้ายความคิด
นวัตกรรมทางธุรกิจ การสร้างสรรค์ นำไปสู่สิ่งใหม่ที่มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นและให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น
ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างภายในเครือข่ายธุรกิจฯ เกิดความร่วมมือที่ทรงประสิทธิภาพ พร้อมก้าวเดินไปข้างหน้าบนเส้นทางธุรกิจด้วยความแข็งแกร่ง
ดังนั้น ทางออกสำหรับวิฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ จึงให้ความสำคัญต่อการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจทั่วประเทศ เป็นการรวมพลคนตัวเล็กที่จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
และเป็นกลไกลำดับต้นที่ช่วยฝ่าวิกฤตที่กำลังเผชิญอยู่
ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ธุรกิจขนาดเล็กอาจจะหลุดออกจากระบบธุรกิจไป
นอกจากนี้
ยังต้องพัฒนาแหล่งจำหน่ายสินค้าและเชื่อมโยงสินค้าคุณภาพประจำจังหวัดแก่ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกเครือข่ายธุรกิจ
MOC Biz Club
โดยมีการพัฒนาแหล่งจำหน่ายสินค้าแต่ละพื้นที่ให้เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าคุณภาพดีประจำจังหวัดที่สามารถเชื่อมโยงต่อยอดระหว่างกัน ทำให้เกิดการกระจายสินค้าอย่างทั่วถึง
สร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะภายในพื้นที่
เป็นการขยายตลาดในลักษณะพื้นที่สู่สาธารณะ
ซึ่งจะทำให้สินค้าของผู้ประกอบการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจด้านการลงทุนอีกทางหนึ่งด้วย
อธิบดีอรมน กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังเห็นว่า
ควรเร่งเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสมาชิกเครือข่ายฯ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ส่งผลโดยตรงต่อการสร้างยอดขายและอัตราการเข้าใช้บริการที่เพิ่มขึ้น
ที่สำคัญ คือ ต้องนำอิทธิพลของ 'ซอฟท์
พาวเวอร์' มาสร้างสรรค์สินค้าให้มีความแตกต่างหลากหลาย และมีความโดดเด่นแสดงถึง 'อัตลักษณ์ท้องถิ่น' ที่ใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางไปถึงสถานที่ต้องนึกถึงสินค้าที่ผู้ประกอบการได้รังสรรค์ขึ้นมา
และพร้อมที่จะซื้อติดมือกลับไปใช้เองหรือเป็นของฝากของที่ระลึก ซอฟท์ พาวเวอร์ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่มาจากองค์ความรู้ต่างๆ การวิจัย การเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม
พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ การสั่งสมความรู้ของสังคม
เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ ผลิตสินค้า และบริการในรูปแบบใหม่ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคมที่เห็นผลอย่างชัดเจน
พร้อมเตือน!! ทั่วโลกกำลังเผชิญความท้าทายจาก 'เศรษฐกิจดิจิทัล' ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัวทุกด้าน มุ่งสร้างการเติบโตแบบมีส่วนร่วมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และที่สำคัญ คือ ต้องพัฒนาศักยภาพทั้งผู้ประกอบการและธุรกิจไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดทักษะใหม่ๆ โดยใช้นวัตกรรมและข้อมูลรอบด้าน (Data) มาเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก พร้อมทั้งรับฟังเสียงบริบทในสังคม (Social Listening) เพื่อนำมาพัฒนาจุดอ่อน-เสริมจุดแข็งให้แก่สินค้าและบริการ เป็นการเตรียมความพร้อมภาคธุรกิจไทยให้สามารถแข่งขันลักษณะเชิงรุกได้ในตลาด Digital Economy ช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ และลดการเผชิญความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่สำคัญภาคธุรกิจต้องมีการพัฒนาธุรกิจให้เป็นธุรกิจสีเขียว (Green Business Development) อย่างจริงจัง เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวได้ทันกับแนวโน้มการประกอบธุรกิจโลกที่นักลงทุนให้ความสำคัญและใช้เป็นปัจจัยหลักในการเลือกเข้ามาลงทุนในประเทศที่ใส่ใจธุรกิจสีเขียวและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นส่วนประกอบหลักในการดำเนินธุรกิจ" อธิบดีอรมน กล่าวทิ้งท้าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองธุรกิจภูมิภาคและชุมชน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร 0 2547 4445 สายด่วน 1570 และ e-Mail : dcrprov@dbd.go.th และ www.dbd.go.th
#SuperDBD
#กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
#กระทรวงพาณิชย์
****************************************
ที่มา :
กองธุรกิจภูมิภาคและชุมชน ฉบับที่ 152 / วันที่ 6 สิงหาคม 2567