ไตรมาสแรกปี 2566 ต่างชาติลงทุนในไทย 33,048 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกปี 2565 กว่า 25% หรือ 6,664 ล้านบาท ญี่ปุ่นขึ้นแท่นลงทุนอันดับหนึ่ง 12,172 ล้านบาท ตามด้วย จีน 10,987 ล้านบาท และสิงคโปร์ 4,507 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 1,932 คน
ไตรมาสแรกปี 2566 ต่างชาติลงทุนในไทย 33,048 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกปี 2565 กว่า 25% หรือ 6,664
ล้านบาท
ญี่ปุ่นขึ้นแท่นลงทุนอันดับหนึ่ง 12,172 ล้านบาท
ตามด้วย จีน 10,987 ล้านบาท และสิงคโปร์ 4,507 ล้านบาท จ้างงานคนไทย
1,932 คน
นายทศพล
ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า "ไตรมาสแรกปี
2566 (มกราคม - มีนาคม) มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย
ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 174 ราย เป็นการลงทุนผ่านช่องทาง
*การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 56 ราย และ *การขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
จำนวน 118 ราย เม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 33,048 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 1,932 คน โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน
5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ญี่ปุ่น 46 ราย (ร้อยละ 26) เงินลงทุน 12,172
ล้านบาท 2) สิงคโปร์ 30 ราย (ร้อยละ 17) เงินลงทุน 4,507 ล้านบาท 3) สหรัฐอเมริกา
25 ราย (ร้อยละ 14) เงินลงทุน 1,687 ล้านบาท 4)
จีน 10 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 10,987 ล้านบาท และ 5) สมาพันธรัฐสวิส
9 ราย (ร้อยละ 5) เงินลงทุน 1,677
ล้านบาท
รวมถึง
มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย
เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานสลิงและอุปกรณ์ช่วยยกในงานขุดเจาะ องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในโครงการรถไฟฟ้า องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบการให้บริการรายการโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Protocol Television : IPTV) องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้างแบบจำลองแบบ 3 มิติ
และการทำงานของแดมเปอร์เฉพาะทางบนคอมพิวเตอร์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะการออกแบบแม่พิมพ์โลหะ (Die Cast) สำหรับชุดจ่ายน้ำมันและโช้คอัพรถจักรยานยนต์
เป็นต้น
เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 พบว่า
มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย เพิ่มขึ้น 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 19
(มกราคม - มีนาคม 2566 อนุญาต 174 ราย / มกราคม - มีนาคม 2565 อนุญาต 146 ราย)
มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 6,664 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 25 (มกราคม - มีนาคม 2566 ลงทุน 33,048 ล้านบาท / มกราคม - มีนาคม 2565
ลงทุน 26,384 ล้านบาท) และจ้างงานคนไทยเพิ่มขึ้น 246 ราย คิดเป็นร้อยละ 15
(มกราคม - มีนาคม 2566 จ้างงาน 1,932 คน
/ มกราคม - มีนาคม 2565 จ้างงาน 1,686
คน) โดยจำนวนชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนสูงสุด คือ ญี่ปุ่น เช่นเดียวกับปี 2565
ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเดือนมกราคม - มีนาคม
2566 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ นโยบายการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
อาทิ
* บริการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียมภายในบริเวณพื้นที่แปลงสำรวจที่ได้รับสัมปทานในอ่าวไทย
* บริการออกแบบ จัดซื้อ จัดหา ติดตั้ง
ปรับปรุง พัฒนา ทดลองระบบ เชื่อมระบบ และการเปิดใช้งาน ตลอดจนการบริหารจัดการ สำหรับโครงการรถไฟฟ้า
* บริการก่อสร้าง
รวมทั้ง ติดตั้งและทดสอบเกี่ยวกับการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติและสถานีควบคุมก๊าซธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
สำหรับโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก
* บริการทางวิศวกรรมด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจวิศวกรรมยานยนต์
* บริการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัลซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการแพลตฟอร์มกลาง
* บริการเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
ซึ่งให้บริการแก่กิจการของวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศ
การลงทุนในพื้นที่
EEC ของนักลงทุนต่างชาติ เดือนมกราคม - มีนาคม 2566 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 31 ราย
คิดเป็นร้อยละ 18 ของจำนวนนักลงทุนทั้งหมด โดยมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC
จำนวน 3,264 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของเงินลงทุนทั้งหมด เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น
13 ราย ลงทุน 1,826 ล้านบาท จีน 5 ราย ลงทุน 529 ล้านบาท ไต้หวัน 3 ราย ลงทุน 37 ล้านบาท
และประเทศอื่นๆ อีก 10 ราย ลงทุน 872 ล้านบาท ธุรกิจที่ลงทุน อาทิ 1) บริการทางวิศวกรรมด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจวิศวกรรมยานยนต์
2) บริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เช่น
การออกแบบ และทดลองการใช้งานเครื่องอัดอากาศ และดำเนินการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม
เป็นต้น 3)
บริการรับจ้างผลิตชิ้นส่วนโลหะ และชิ้นส่วนพลาสติก 4) บริการรับจ้างผลิตถุงบรรจุภัณฑ์พลาสติก
พาเลทพลาสติก ฟิล์มพลาสติก และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ และ 5) การค้าระหว่างประเทศ
โดยเป็นการจัดซื้อสินค้า วัตถุดิบ และชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น
อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น เพื่อค้าส่งในประเทศ เป็นต้น
ทั้งนี้ เฉพาะเดือนมีนาคม 2566
มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 61 ราย
เป็นการลงทุนผ่านช่องทาง *การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน
19 ราย และ *การขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 42 ราย เม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น
6,292 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 281 คน ส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ รวมถึง มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะการออกแบบแม่พิมพ์โลหะ
(Die Cast) สำหรับชุดจ่ายน้ำมันและโช้คอัพรถจักรยานยนต์
องค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานสลิงและอุปกรณ์ช่วยยกในงานขุดเจาะ
องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการออกแบบเครื่องประดับแบบสามมิติขั้นสูง (Advance
CAD Techniques) องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการเชื่อมต่อแบบ Application
Program Interface (API) กับ Payment gateway เป็นต้น
สำหรับธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต
ได้แก่
* บริการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียมภายในบริเวณพื้นที่แปลงสำรวจที่ได้รับสัมปทานในอ่าวไทย
* บริการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าประเภทวัสดุและชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตเครื่องประดับ
* กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยให้ใช้ระบบจัดจำหน่ายสินค้าประเภทอะไหล่
ชิ้นส่วน และวัสดุจำเป็นในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ผ่านเว็บไซต์
* บริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เช่น
การให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรม บริการออกแบบทางวิศวกรรม เป็นต้น
* การค้าระหว่างประเทศ โดยเป็นการจัดซื้อสินค้า
วัตถุดิบ และชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ชิ้นส่วนโลหะ และยานยนต์
เป็นต้น เพื่อค้าส่งในประเทศ
#SuperDBD
**********************************************
ที่มา : กองบริหารการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ฉบับที่ 69 /
วันที่ 21 เมษายน 2566