กรมพัฒน์ฯ ติวเข้มธุรกิจบริการสุขภาพและความงาม ต้อนรับนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าไทย พร้อมสร้างรายได้เติบโตอย่างมืออาชีพ
กรมพัฒน์ฯ ติวเข้มธุรกิจบริการสุขภาพและความงาม
ต้อนรับนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าไทย
พร้อมสร้างรายได้เติบโตอย่างมืออาชีพ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผนึกกำลัง
สมาคมการส่งเสริมสุขภาพไทย ปั้นผู้ประกอบธุรกิจ Wellness เปิดคอร์สอบรมผู้ประกอบธุรกิจด้านสุขภาพและความงามให้เป็นมืออาชีพ
ภายใต้หลักสูตร Smart Wellness
Business เสริมความรู้ด้านบัญชีภาษีและการบริหารธุรกิจ Wellness รองรับการขยายตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงเทรนด์ดูแลสุขภาพและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว
นักท่องเที่ยวเริ่มหลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก เป็นโอกาสสร้างงาน สร้างรายได้และช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มหาศาล
นายทศพล
ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า
ในวันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2566) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดอบรมหลักสูตร Smart
Wellness Business การบริหารจัดการธุรกิจด้านสุขภาพ ณ ศูนย์ประชุม 1 ศตวรรษ ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้ประกอบธุรกิจสปาและความงาม ธุรกิจนวดเพื่อสุขภาพ ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 100
ราย สำหรับธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ
หรือที่นิยมเรียกว่า Wellness
Business เป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
สวนกระแสเศรษฐกิจซบเซา โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของโควิด 19
ส่งผลให้ภาคธุรกิจต่างๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งผู้คนกำลังตระหนักถึงเรื่อง
"สุขภาพ" เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมแบบเท่าตัว ดังนั้น "เทรนด์สุขภาพ" จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญและโอกาสที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง
โดยรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและขยายการท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical
Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ ( Wellness
Tourism) ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญช่วยขยายการเติบโตธุรกิจบริการสุขภาพและความงาม
และยังช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่การท่องเที่ยวต่างๆ ด้วย
อธิบดี
กล่าวต่อว่า "การอบรมในครั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจบริการสุขภาพและความงาม
และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต และมีองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการธุรกิจ บัญชีภาษี
และกฎหมาย โดยสามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ในการบริหารจัดการและสื่อสารการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจได้
โดยได้รับเกียรติจากคุณศิริพัฒน์ กล่ำกลิ่น ผู้บริหารจากบริษัท ดิจิตอล เอเจนซี่
จำกัด บรรยายในหัวข้อ "Update บัญชีภาษีธุรกิจ Wellness อย่างเต็มระบบ พร้อมกับรู้เท่าทัน
PDPA
สำหรับธุรกิจ Wellness" และ ดร.นพัฐกานต์ เกิดแสง
เลขาธิการสมาคมการส่งเสริมสุขภาพไทย บรรยายในหัวข้อ "การบริหารธุรกิจ Wellness แบบไม่สะดุด ในยุค Next
Normal""
"ประเทศไทยมีธุรกิจ Wellness
ที่จัดตั้งในรูปแบบนิติบุคคลและคงอยู่จำนวน 2,581 ราย ทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 17,272.93 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 ประเภทธุรกิจ
ได้แก่ 1) ธุรกิจสปาและนวด จำนวน 1,422 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 8,386 ล้านบาท จัดตั้งใหม่ในปี 2565 จำนวน 142 ราย
ทุนจดทะเบียน 292 ล้านบาท 2) ธุรกิจกายภาพบำบัด จำนวน 151 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1,598 ล้านบาท
จัดตั้งใหม่ในปี 2565 จำนวน 36 ราย ทุนจดทะเบียน 79 ล้านบาท 3) ธุรกิจฟิตเนส จำนวน
1,008 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 7,287 ล้านบาท จัดตั้งใหม่ในปี 2565 จำนวน 94 ราย
ทุนจดทะเบียน 185 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตและฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว (ข้อมูล ณ
วันที่ 3 มกราคม 2566)" อธิบดี กล่าวทิ้งท้าย
#SuperDBD
***********************************
ที่มา : กองธุรกิจบริการ ฉบับที่ 24 / วันที่
20 กุมภาพันธ์ 2566