"นภินทร" ผุดโปรเจคใหม่ "พาณิชย์ร่วมแรงงาน" ใช้กองทุนประกันสังคม ค้ำเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ใช้แฟรนไชส์สร้างอาชีพให้ ครอบครัวแรงงาน ม.33 ที่ขึ้นทะเบียน
"นภินทร" ผุดโปรเจคใหม่ "พาณิชย์ร่วมแรงงาน" ใช้กองทุนประกันสังคม
ค้ำเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ใช้แฟรนไชส์สร้างอาชีพให้ ครอบครัวแรงงาน ม.33 ที่ขึ้นทะเบียน
พร้อม kickoff "มหกรรมรวมพลัง SMEs ไทย" ใน มิ.ย. คาดสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 140 ล้านบาท
รมช.พณ.
นภินทร ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมและยกระดับ
SMEs ไทย หารือร่วมกับธนาคารอิสลามฯ
ธนาคาร SME
D Bank ธนาคารออมสิน และสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ผลักดันการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับแรงงานไทยและครอบครัวที่จ่ายเงินประกันสังคม
สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผ่านธุรกิจ
แฟรนไชส์ ให้โอกาสคนตัวเล็ก
นายนภินทร
ศรีสรรพางค์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการหารือร่วมกับธนาคารอิสลามฯ ธนาคาร SME D Bank ธนาคารออมสิน
และสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ในการช่วยเหลือคนว่างงาน
แรงงานไทยและครอบครัว ทั้งนิติบุคคลและคนธรรมดาในการทำธุรกิจ อาทิ ธุรกิจแฟรนไชส์
โดยการปล่อยสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสมและเท่ากันในทุกธนาคาร พร้อมเดินหน้าจัดทำโครงการปล่อยสินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์สร้างอาชีพ
ในการสนับสนุนการทำธุรกิจและลดความเสี่ยงของการกู้ยืมเงินของแรงงานไทยและครอบครัว
โดยกระทรวงพาณิชย์จะรวบรวมข้อมูลธุรกิจที่สามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้
รายชื่อธนาคารที่จะสนับสนุนในการปล่อยสินเชื่อในอัตราที่จับต้องได้ พร้อมให้พาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศช่วยเหลือแรงงานไทยและครอบครัวตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ
อีกทั้งผลักดันให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
รมช.พณ. กล่าวต่อว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและยกระดับ
SMEs ไทย ณ ห้องประชุมกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น ๔ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ว่า "ในวันนี้ (11
เมษายน 2567) กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการจัดประชุมฯ ร่วมกับผู้แทนภาครัฐและเอกชน
เช่น สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เครือข่ายธุรกิจบิสคลับประเทศไทย เป็นต้น เพื่อติดตามความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมจัดงาน
มหกรรมรวมพลัง SMEs ไทย ที่กำหนดจัดช่วงปลายเดือนมิถุนายน
2567 พร้อมวางแผนกำหนดมาตรการส่งเสริมและแก้ปัญหา SMEs โดยมีรายละเอียดสำคัญ
ดังนี้
1.
มาตรการแรกการจัดกิจกรรมมหกรรมรวมพลัง SMEs ไทย
ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนเกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศ และช่วยขยายตลาดให้ผู้ประกอบการ SMEs กำหนดจัดกิจกรรมช่วงปลายมิถุนายน 2567 ณ
ศูนย์การแสดงสินค้าชั้นนำในกรุงเทพมหานคร กิจกรรมหลักภายในงานประกอบไปด้วย 7 โซน
1) โซนให้ความรู้ผ่านการสัมมนาหัวข้อที่ SMEs จำเป็นต้องรู้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ
เช่น กฎระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศ
สิทธิประโยชน์ FTA และแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น 2) โซนแสดงและจำหน่ายสินค้าและบริการของ SMEs เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจอาหาร
ผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น 3) โซนเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business
Matching) ระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจและหน่วยงานพันธมิตร 4) โซนพื้นที่การค้าราคาพิเศษ เช่น พื้นที่ในตลาดชุมชน สถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า 5) โซนการให้สินเชื่ออัตราพิเศษจากสถาบันการเงินเพื่อช่วยให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น 6) โซนแสดงเทคโนโลยีและบริการด้านดิจิทัล
(Digital Business Solution) และ 7) โซนจัดแสดงนิทรรศการและพื้นที่สำหรับหน่วยงานพันธมิตรที่เข้าร่วม
ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 10,000 คน
สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 140 ล้านบาท
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินงานตาม
Roadmap
การส่งเสริมและแก้ปัญหา SMEs ได้แก่ 1) บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างความรู้ให้ SME โดยเพิ่มหลักสูตรการทำธุรกิจ
Homestay ในหลักสูตร DBD Academy ทางระบบการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์ (e-Learning)
ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผ่านทางเว็บไซต์ https://dbdacademy.dbd.go.th 2) สร้างอาชีพผ่านระบบแฟรนไชส์ ได้มีการเจรจากับห้างค้าปลีกชั้นนำ
ห้างสรรพสินค้า สถานีบริการน้ำมัน ได้แก่ เชลล์ บางจาก โออาร์ และ พีที รวมถึงตลาดนัดชุมชน
อาทิ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดเยสบางพลี เพื่อนำเสนอพื้นที่ทำเลทองให้กับผู้ประกอบการทั้งในกทม.
และภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศได้นำสินค้ามาขายผ่านช่องทางดังกล่าว
โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วนพร้อมกับได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี 3) เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ ร่วมมือกับบริษัท
ไปรษณีย์ไทย จำกัด ออกแบบและวางแผนการดำเนินงานของคณะทำงานเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ
4) เพิ่มมูลค่าสินค้า GI
ให้เป็นที่รู้จัก กระทรวงฯ มีแผนจะดำเนินการรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพิ่มขึ้นอีก
20 รายการ จาก 15
จังหวัด ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว 9 รายการ 5) การบริหารจัดการสินค้าเกษตรเพื่อรักษาสมดุลราคา โดยได้เจรจาเชื่อมโยงซื้อขายสินค้าเกษตร ผ่านการจัดทำเกษตรพันธสัญญาไปแล้ว ได้แก่
พืชสามหัว (หอมแดง หอมใหญ่ กระเทียม) ปริมาณ 30,175 ตัน มูลค่า 407.3 ลบ. และผลไม้ 17
สินค้า ปริมาณ 80,867.5 ตัน เช่น มะม่วง สับปะรด ส้ม
เป็นต้นมูลค่า 3,234.7 ลบ. 6) พัฒนาร้านค้าโชห่วยด้วยระบบการค้าสมัยใหม่ เสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาให้เป็นสมาร์ทโชห่วยด้วยการปรับภาพลักษณ์ร้านค้าส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี
POS มาช่วยจัดเก็บข้อมูลการขาย และบริหารคลังสินค้า
พร้อมร่วมมือกับพันธมิตร อาทิ ShopChamp, Makro, TikTok
และ Shopee
ในการส่งเสริมผู้ประกอบการ 7) ส่งเสริมการเติบโต
SME ในท้องถิ่นผ่าน THAI SME-GP โดยการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มการเข้าใช้สิทธิมาตรการ
THAI SME-GP ให้มากยิ่งขึ้น 8) สนับสนุนและสร้างมาตรฐานธุรกิจ
e-Commerce โดยการพัฒนาและส่งเสริม
SMEs ผ่าน Thaitrade.com และ 9)
การส่งเสริม/พัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ผ่านการผลักดันภาษี
CARAT
TAX รวมถึงส่งเสริมมาตรฐานธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ยิ่งไปกว่านั้น
กระทรวงพาณิชย์เร่งเดินหน้าและผลักดันการดำเนินการต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทย
ให้มีศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง" รมช.พณ. กล่าวทิ้งท้าย
#SuperDBD
#กระทรวงพาณิชย์
******************************************
ที่มา : กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ ฉบับที่ 69 /
วันที่ 11 เมษายน 2567