การจดทะเบียนธุรกิจ ประจำเดือนธันวาคม 2562 / ประจำปี 2562 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
การจดทะเบียนธุรกิจ ประจำเดือนธันวาคม 2562 / ประจำปี 2562
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนธันวาคม 2562 และประจำปี 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผลการจดทะเบียนธุรกิจ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนธันวาคม
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนธันวาคม 2562 จำนวน 3,158 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 21,451 ล้านบาท
- ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 287 ราย คิดเป็น ร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 236 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร /ร้านอาหาร จำนวน 104 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 2,048 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.85 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 1,021 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.33 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 63 ราย คิดเป็น ร้อยละ 2.00 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.82 ตามลำดับ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่ปี 2562
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่ ธุรกิจจัดตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. - ธ.ค. 62 มีจำนวน 71,485 ราย มีมูลค่า ทุนจดทะเบียน 327,464 ล้านบาท
- ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 6,436 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 4,170 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 2,113 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 51,239 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.68 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 18,912 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.45 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 1,127 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.58 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 207 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.29 ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนธันวาคม
- ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในเดือนธันวาคมมีธุรกิจเลิกประกอบกิจการจำนวน 5,666 ราย มูลค่า ทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 21,729 ล้านบาท
- ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 496 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 296 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
- ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 3,973 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.12 รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 1,421 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.08 ลำดับถัดไปคือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 251 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.43 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.37 ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการประจำปี 2562
- ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ธุรกิจเลิกประกอบกิจการสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. - ธ.ค. 62 มีจำนวน 22,129 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 112,097 ล้านบาท
- ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 2,052 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,311 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 574 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
- ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 15,478 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.89 รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 5,534 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.98 ลำดับถัดไปคือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 1,020 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.67 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 97 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.46 ตามลำดับ
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนธันวาคม
- ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ธ.ค. 62) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน746,298 ราย มูลค่าทุน 18.37 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 183,953 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.65 บริษัทจำกัด จำนวน 561,087 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.18 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,258 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17 ตามลำดับ
- ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 440,315 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.00 รวมมูลค่าทุน 0.39 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.12 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 219,519 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.42 รวมมูลค่าทุน 0.72 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.92 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 70,919 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.50 รวมมูลค่าทุน 1.93 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.51 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 15,545 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.08 รวมมูลค่าทุน 15.33 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.45 ตามลำดับ
แนวโน้มการจัดตั้งธุรกิจ 2563
เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจย้อนหลัง (2559-2562) พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.52% รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยประมาณจำนวนการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในปี 2563 ที่ 71,000 - 73,000 ราย แต่อย่างไรก็ตามยังต้องพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ ตลอดทั้งปีด้วยไม่ว่า จะเป็นความผันผวนของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวน จัดตั้งธุรกิจใหม่ในปี 2563
การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว
เดือนธันวาคม
- เดือนธันวาคม 2562 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 47 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาต ประกอบธุรกิจจำนวน 24 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจจำนวน 23 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 6,512 ล้านบาท
- นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 10 ราย เงินลงทุน 252 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 8 ราย เงินลงทุน 173 ล้านบาท และเนเธอร์แลนด์ 4 ราย เงินลงทุน 139 ล้านบาท
- เดือนมกราคม - ธันวาคม 2562 คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จำนวน 608 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 192,341 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรากฏว่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 72,247 ล้านบาท (60%) เนื่องจากใน ปี 62 มีต่างชาติลงทุนประกอบธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง อาทิ บริการขุดเจาะปิโตรเลียม บริการออกแบบทางวิศวกรรมและบริหารจัดการโครงการรื้อถอนแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในทะเล บริการออกแบบติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ และบริหารจัดการโครงการประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง บริการออกแบบ ติดตั้ง ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิศวกรรม และการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าโดยสารในโครงการรถไฟฟ้า เป็นต้น
*******************************
การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือนธันวาคม 2562
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล และ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวก เพื่อลดต้นทุน ลดเวลา และลดการใช้กระดาษ โดยพัฒนาการบริการทุกกระบวนการของกรม ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้บริการยื่นขอรับบริการได้ทุกที่ ทุกเวลา
e-Certificate บริการระบบหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคาร
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดระบบการให้บริการหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคาร (e-Certificate) ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2555 และผ่านการรับรองระบบพิมพ์ออกฯ จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จึงเป็นนวัตกรรมที่สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด โดยในวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ได้มีการขยายการให้บริการไปยังธนาคารทหารไทย ทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการ ณ สาขาธนาคารใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการ ได้รวมทั้งสิ้น 10 ธนาคาร จำนวน 3,969 สาขา
e-Secured จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างครบวงจร ผ่าน Web Application และ Web Service แบบ Host to Host และชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และออกใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเจ้าพนักงานทะเบียนลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) รวมถึงสามารถตรวจค้นข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจเบื้องต้น ผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th หรือผ่านระบบ mobile application (iOs และAndroid) บนสมาร์ทโฟน
โดยระหว่าง 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกัน ทางธุรกิจ จำนวน 473,689 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 7,566,956 ล้านบาท มีการทรัพย์สิน ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและใช้ประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน สำหรับเดือนธันวาคม 2562 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 8,353 คำขอ มูลค่าทรัพย์สิน ที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 121,982 ล้านบาท ทั้งนี้ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจมากที่สุด ได้แก่ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง คิดเป็นร้อยละ 55.95 (มูลค่า 68,250 ล้านบาท) รองลงมาคือ สิทธิเรียกร้อง เช่น บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิทธิการเช่า คิดเป็นร้อยละ 43.81 (มูลค่า 53,444 ล้านบาท) อสังหาริมทรัพย์ มีการจดทะเบียน คิดเป็นร้อยละ 0.21 (มูลค่า 258 ล้านบาท) กิจการ มีการจดทะเบียน คิดเป็นร้อยละ 0.02 (มูลค่า 29 ล้านบาท) และ ไม้ยืนต้น เป็นประเภทไม้ยางพารา คิดเป็นร้อยละ 0.0002 (มูลค่า 220,000 บาท) และมีผู้รับหลักประกัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 230 ราย
นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผู้บังคับหลักประกันมืออาชีพ เรื่อง "Digital Transformation เปลี่ยนธุรกิจเพื่อความสำเร็จในยุคดิจิทัล" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำหรับบังคับหลักประกัน โดยมีผู้สนใจเข้าร่วม จำนวน 41 คน และกำหนดจัดสัมมนา การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ สำหรับผู้รับหลักประกัน ในวันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
e-Registration การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์
การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2562 มีการยืนยัน การใช้งาน (Activate) จำนวน 50,930 ราย รับจดทะเบียน 21,142 ราย ซึ่งกรมได้มีการเตรียมการพัฒนาระบบ ให้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการยืนยันตัวตนนิติบุคคลและการใช้ระบบงาน รวมถึงการเชื่อมโยง เพื่อสร้างความพร้อมในการดำเนินธุรกิจให้แก่ SME ทั้งด้านการเงินและซอฟแวร์ รวมทั้งการให้บริการสำเนาเอกสารทะเบียนนิติบุคคลรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนผ่านระบบ e-Registration
DBD e - Filing การนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์
สถิติการนำส่งงบการเงิน ณ 31 ธันวาคม 2562 มีนิติบุคคลนำส่งงบการเงินจำนวน 559,825 ราย โดยนำส่ง ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) จำนวน 519,606 ราย คิดเป็นร้อยละ 93 และนำส่งในรูปแบบกระดาษจำนวน 40,219 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 จะเห็นว่าการนำส่งงบการเงินผ่านระบบ DBD e-Filing อยู่ในสัดส่วนร้อยละ93 ของนิติบุคคลที่นำส่งงบการเงินแล้ว ซึ่งมียอดการนำส่งงบการเงินสูงกว่าปีก่อนเมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน ถือว่าการรณรงค์เชิญชวนให้นิติบุคคล นำส่งงบการเงินผ่านระบบ DBD e-Filing ประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งกรมฯ มั่นใจว่าการนำส่งงบการเงิน ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถอำนวยความสะดวกลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายให้แก่ภาคธุรกิจ เนื่องจากสามารถนำส่งงบการเงินได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่าน DBD Data Warehouse และ DBD e - Service Application ได้อย่างรวดเร็ว โดยถือเป็น ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการผลักดันให้กรมฯ ก้าวสู่ การเป็นหน่วยงานภาครัฐดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และตอบสนองการพัฒนาระบบให้บริการภาคธุรกิจที่เป็นเลิศมุ่งสู่ยุค Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล
การนำส่งงบการเงินประจำปี 2563 นิติบุคคลสามารถนำส่งได้ 2 ช่องทาง คือ การนำส่งผ่านช่องทางออนไลน์ DBD e-Filing รูปแบบ Excel เวอร์ชั่น 2 ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานระบบที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม และการนำส่งรูปแบบกระดาษ (ซึ่งจะต้องส่งผ่าน DBD e-Filing อีกครั้งภายใน 7 วัน จึงจะถือว่านำส่งงบการเงินเสร็จสมบูรณ์) โดยปีนี้กรมได้ปิดช่องทางการนำส่งงบการเงินทางไปรษณีย์ เนื่องจากปีที่ผ่านมานิติบุคคลนำส่งงบการเงินทางไปรษณีย์เพียง 0.5% ของนิติบุคคลที่นำส่งงบการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่จะนำส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)
กรมจึงขอประชาสัมพันธ์ให้นิติบุคคลเตรียมความพร้อมโดยดาว์นโหลดไฟล์ Excel เวอร์ชั่น 2 สำหรับกรอกงบการเงินได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยศึกษาวิธีการใช้งานได้ที่ www.dbd.go.th เลือก บริการออนไลน์ และ ระบบนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)"
"สำหรับการนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนิติบุคคลจะต้องนำส่งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ตามประเภทของนิติบุคคลดังนี้ บริษัทจำกัด ต้องยื่นแบบ บอจ.5 ต่อกรมฯ ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ ในที่ประชุมใหญ่ และ บริษัทมหาชนจำกัด ต้องยื่นแบบ บมจ.006 ภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม ขอให้นำส่งผ่านระบบ DBD e-Filing เช่นกัน"
ตามประเภทของนิติบุคคลดังนี้ บริษัทจำกัด ต้องยื่นแบบ บอจ.5 ต่อกรมฯ ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ ในที่ประชุมใหญ่ และ บริษัทมหาชนจำกัด ต้องยื่นแบบ บมจ.006 ภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม ขอให้นำส่งผ่านระบบ DBD e-Filing เช่นกัน"
การบริการหนังสือรับรองข้อมูลนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์และผลักดันการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ยกระดับการเป็นหน่วยงานรัฐบาลดิจิทัล โดยการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) มาให้บริการ ซึ่งการบริการ e-Service เป็นการบริการขอหนังสือรับรองผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยขอรับข้อมูลได้ผ่านช่องทาง Walk in EMS Delivery และการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Certificate File) ซึ่งการบริการในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนการใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนธันวาคม 2562 มีจำนวน 26,857 ราย เพิ่มขึ้น 88% จากเดือนที่ผ่านมา (พ.ย.62 จำนวน 14,301 ราย) ซึ่งภาพรวม เฉลี่ยเดือนละ 10,257 ราย และได้ขยายการให้บริการสู่การบริการหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติและสมาคมการค้า หนังสือรับรองภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ การขอรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากผ่านทาง www.dbd.go.th แล้ว สามารถขอรับบริการผ่านทาง Application DBD e- Service ได้ทั้งระบบ Android และ IOS
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน ปรับลดอัตราค่าบริการหนังสือรับรอง รับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านธนาคาร (e-Certificate) จากอัตราเดิม หนังสือรับรองนิติบุคคล ฉบับละ 150 บาท เป็น ฉบับละ 100 บาท รับรองสำเนาเอกสารทะเบียน งบการเงิน/บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จาก 1-5 หน้าแรก 100 บาท หน้าถัดไปหน้าละ 20 บาท เป็น หน้าละ 20 บาท โดยไม่กำหนดอัตราเริ่มต้น โดยธนาคารกรุงไทย ปรับลดเป็นระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 สิงหาคม 2563 มีสาขาที่พร้อมให้บริการทั้งสิ้น 1,132 สาขาทั่วประเทศ และธนาคารออมสิน ปรับลดเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 มิถุนายน 2563 กว่า 1,070 สาขาทั่วประเทศ
DBD e-Accounting โปรแกรมบัญชีเพื่อช่วยเหลือ SMEs
กรมได้ดำเนินการแจก "โปรแกรม e-Accounting for SMEs" ช่วยเหลือ SMEs สามารถบริหารจัดการร้านค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน ลดระยะเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ทาง Play store ซึ่งมีการพัฒนาซอฟแวร์บัญชีเชื่อมต่อกับการนำส่งงบการเงินทางระบบ DBD e-Filing ผ่านทาง DBD Connect ซึ่งเป็นการร่วมกับผู้พัฒนาซอฟแวร์บัญชี เพื่อเชื่อมโยงระบบงานบัญชีเข้าสู่งบการเงินทางออนไลน์ได้โดยทันที จำนวน 15 ราย
Total Solution for SMEs
การขับเคลื่อน SMEs ไทย ด้วยนวัตกรรมออนไลน์ โดยส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีทางการบัญชี และบริหารจัดการร้านค้าได้โดยง่าย ให้ได้รับข้อมูลในการบริหารจัดการธุรกิจแบบถูกต้อง ครบวงจร เปลี่ยน Traditional SMEs เป็น Smart SMEs ซึ่งกรมได้รวบรวมโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทั้ง 3 ภาคส่วน ไว้ด้วยกันคือ โปรแกรมสำนักงาน (Office) โปรแกรมหน้าร้าน (POS) โปรแกรมบัญชี online (Cloud Accounting) โดยผู้ประกอบการสามารถจัดทำบัญชีเบื้องต้นได้เองก่อนส่งข้อมูลให้ผู้ทำบัญชีตรวจสอบ
DBD Data Warehouse
กรมได้พัฒนาระบบสารสนเทศให้มีความสมบูรณ์หลากหลาย และสามารถจัดทำผลวิเคราะห์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลธุรกิจ ประกอบด้วยข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลและวิเคราะห์งบการเงิน ข้อมูลซัพพลายเออร์ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ ข้อมูลโอกาสทางธุรกิจ ข้อมูลการลงทุนจากต่างชาติในนิติบุคคลไทย รวมทั้งข้อมูลสถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล พร้อมทั้งนำข้อมูลธุรกิจไปสนับสนุนการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยในปี 2562 (ม.ค.-ธ.ค.) มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้นจำนวน 8,909,086 ครั้ง
****************************
ที่มา : กองข้อมูลธุรกิจ ฉบับที่ 55 / 29 มกราคม 2563