การจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
การจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้ นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือน ตุลาคม 2561 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผลการจดทะเบียนธุรกิจ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนตุลาคม
จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2561 จำนวน 6,197 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จำนวน 6,313 ราย ลดลงจำนวน 116 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 6,003 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 194 ราย คิดเป็นร้อยละ 3
จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2561 จำนวน 6,197 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จำนวน 6,313 ราย ลดลงจำนวน 116 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 6,003 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 194 ราย คิดเป็นร้อยละ 3
ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 573 ราย คิดเป็น ร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 383 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 201 ราย คิดเป็นร้อยละ 3
มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ ในเดือนตุลาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 19,962 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จำนวน 48,027 ล้านบาท ลดลงจำนวน 28,065 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58 และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 39,723 ล้านบาท ลดลงจำนวน 19,761 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนตุลาคม
ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 6,066 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.89 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 113 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.82 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.29 โดยมีธุรกิจที่ทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 ราย คือ ธุรกิจโรงภาพยนต์ มีมูลค่าทุน 1,740 ล้านบาท
ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 6,066 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.89 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 113 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.82 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.29 โดยมีธุรกิจที่ทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 ราย คือ ธุรกิจโรงภาพยนต์ มีมูลค่าทุน 1,740 ล้านบาท
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ต.ค. 61) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน711,478 ราย มูลค่าทุน 17.79 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 182,626 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.67 บริษัทจำกัด จำนวน 527,635 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.16 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,217 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนตุลาคม
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 628,672 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.36 รวมมูลค่าทุน 1.04 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.85 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 68,177 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.58 รวมมูลค่าทุน 1.84 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.34 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 14,629 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.06 รวมมูลค่าทุน 14.91 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.81 ตามลำดับ
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 628,672 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.36 รวมมูลค่าทุน 1.04 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.85 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 68,177 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.58 รวมมูลค่าทุน 1.84 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.34 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 14,629 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.06 รวมมูลค่าทุน 14.91 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.81 ตามลำดับ
จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 2,166 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จำนวน 1,899 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 267 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 1,797 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 369 ราย คิดเป็นร้อยละ 21
ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 181 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 110 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ตามลำดับ
มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในเดือนตุลาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 10,088 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จำนวน 6,555 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,533 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54 และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 10,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 58 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 2,064 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.29 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 94 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.34 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.37
คาดการณ์ตลอดปี 2561
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.- ต.ค.61) มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท จำนวน 62,468 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 853 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.38 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.- ต.ค.60) จำนวน 61,615 ราย การเติบโตของธุรกิจจัดตั้งใหม่มีทิศทางสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่มีการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมีอัตราการเติบโตของการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทในพื้นที่ที่ระดับ 7- 8 % ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป และอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวสูงสุด อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยตลอดปี 2561 ยังอยู่ในกรอบของการขยายตัว เนื่องจากปัจจัยมูลค่าการส่งออก และมูลค่าการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2561 และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายทางการเงินไว้ที่ร้อยละ 1.5 รวมทั้งมาตรการจากภาครัฐในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งเมืองรองและชุมชน เพื่อสนับสนุนธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และ ที่พักโรงแรมในส่วนภูมิภาคให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.- ต.ค.61) มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท จำนวน 62,468 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 853 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.38 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.- ต.ค.60) จำนวน 61,615 ราย การเติบโตของธุรกิจจัดตั้งใหม่มีทิศทางสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่มีการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมีอัตราการเติบโตของการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทในพื้นที่ที่ระดับ 7- 8 % ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป และอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวสูงสุด อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยตลอดปี 2561 ยังอยู่ในกรอบของการขยายตัว เนื่องจากปัจจัยมูลค่าการส่งออก และมูลค่าการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2561 และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายทางการเงินไว้ที่ร้อยละ 1.5 รวมทั้งมาตรการจากภาครัฐในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งเมืองรองและชุมชน เพื่อสนับสนุนธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และ ที่พักโรงแรมในส่วนภูมิภาคให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดตั้งธุรกิจในปี 2561 นี้ ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของการประกาศใช้มาตรการการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคล รวมไปถึงมาตรการในการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวและการเข้ามาของชาวต่างประเทศต่างๆ ได้แก่ การยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 - มกราคม 2562 ครอบคลุม 21 ประเทศ เช่น จีน อินเดีย ไต้หวัน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือสมาร์ทวีซ่าสำหรับบุคคลเข้ามาพำนักในประเทศไทยชั่วคราวสำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูง กลุ่มนักลงทุน กิจการร่วมลงทุน และกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนในการช่วยผลักดันให้มีการประกอบธุรกิจและการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ กรมได้เร่งดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสที่เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน การได้รับการลดหย่อนภาษี และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ รวมทั้งมีโอกาสเข้าถึงความช่วยเหลือของภาครัฐมากยิ่งขึ้น
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือน ตุลาคม 2561
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล และ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกเพื่อ ลดต้นทุน ลดเวลา และลดการใช้กระดาษ โดยพัฒนางานบริการทุกระบวนการของกรม ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้บริการยื่นขอรับบริการได้ทุกที่ ทุกเวลา
e-Registration การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์
กรมได้อำนวยความสะดวกให้แก่นิติบุคคลในการเริ่มต้นธุรกิจ โดยมีการปรับลดความยุ่งยากของขั้นตอนการ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (Ease of Doing Business) โดยให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) รวมขั้นตอนการจองชื่อและจดทะเบียนนิติบุคคลออนไลน์เป็นขั้นตอนเดียวกัน (จากเดิมมี 2 ขั้นตอน) และลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ที่ยื่นผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 เมษายน 2561 จากเดิม 5,500-275,000 บาท เป็น 5,500 บาท อัตราเดียว และการจดทะเบียนออนไลน์ e-Registration 3,850 บาท
โดยตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 เป็นต้นมา จนถึง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561 มีผู้ใช้ระบบ (Activate) จำนวน 29,222 ราย และมีการรับจดทะเบียนทาง e-Registration จำนวน 9,078 ราย สำหรับปี 2561 (ม.ค.-ต.ค.) มีการจดทะเบียนทาง e-Registration จำนวน 5,941 ราย
e-Secured การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์
บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ผ่าน Web Application และ Web Service พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมและออกใบเสร็จรับเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเจ้าพนักงานทะเบียนลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) โดยตั้งแต่ วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2561 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 293,812 คำขอ คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 5,334,492 ล้านบาท ซึ่งจากการพัฒนาระบบจดทะเบียนนี้ทำให้ "ระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ (e-Secured)" ได้รับรางวัล เลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2561 ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดี
ทั้งนี้กรมได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ "กำหนดให้ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า เป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจได้" ซึ่งได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561และมีผลใช้บังคับวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561
e-Service การบริการขอหนังสือรับรองผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์
e-Service เป็นบริการขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนา และถ่ายเอกสารผ่านทาง Internet โดยสามารถขอรับเอกสารได้ผ่านช่องทาง Walk in Ems Delivery และได้พัฒนาการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Certificate File) และส่งไฟล์ให้กับผู้ยื่นขอผ่านทางอีเมล์ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกและ ลดขั้นตอนแก่ผู้ใช้บริการ ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 เป็นต้นมา
สถิติการให้บริการทาง e-Service ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2561 มีผู้ใช้บริการ จำนวน 1,825,548 ราย ประกอบด้วยผู้ใช้บริการช่องทาง EMS จำนวน 1,001,511 ราย Walk in จำนวน 599,661 ราย Delivery จำนวน 218,507 ราย และ Electronic File จำนวน 5,869 ราย
e-Certificate การบริการหนังสือรับรองและสำเนาเอกสารทะเบียนนิติบุคคลผ่านธนาคาร
กรมได้เปิดให้บริการออกหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate) ผ่านธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2555 โดยให้บริการผ่านธนาคาร 9 ธนาคาร ได้แก่ กรุงเทพ กรุงไทย ออมสิน กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต มิซูโฮ กรุงศรีอยุธยา และเกียรตินาคิน มีสาขาให้บริการ จำนวน 4,043 สาขา จนถึง ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2561 มีสถิติผู้ใช้บริการ จำนวน 927,708 ราย โดยแบ่งเป็นให้บริการหนังสือรับรอง จำนวน 879,935 ฉบับ และรับรองสำเนาเอกสาร จำนวน 409,499 แผ่น
e-Filing ระบบการรับ-ส่งงบการเงินทางออนไลน์
กรมได้เปิดให้บริการนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2558 เป็นต้นมา ในปีงบการเงิน 2560 มีนิติบุคคลส่งงบการเงินทาง DBD e-Filing จำนวน 477,953 ราย (ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561) คิดเป็นร้อยละ 91 ของนิติบุคคลที่นำส่งงบการเงินแล้ว โดยกรมได้เชื่อมโยงกับกรมสรรพากรให้นิติบุคคลที่ยื่น งบการเงินผ่านทาง DBD e-Filing เป็นการส่งงบการเงินเดียวกันให้กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ ซึ่งกรมได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่องโดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการส่งงบการเงินรวมทั้งบัญชี ผู้ถือหุ้น ผ่านระบบ DBD e-Filing ระหว่างวันที่ 12 ธ.ค. 61, 17-19 ธ.ค. 61 และ 21 ธ.ค.2561 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมฝึกปฏิบัติเป็นจำนวนมาก
DBD e-Accounting โปรแกรมบัญชีเพื่อช่วยเหลือ SMEs
กรมได้ดำเนินการช่วยเหลือ SMEs ให้สามารถทำบัญชีเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง โดยการแจก "โปรแกรม e-Accounting for SMEs" ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีการทำงานแบบครบวงจร เริ่มต้นตั้งแต่แต่การซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการจนถึงการทำบัญชี ซึ่งระบบสามารถออกใบกำกับภาษี รายงานภาษีซื้อและภาษีขาย รวมทั้งรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการร้านค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงานบัญชีผ่าน Cloud Computing พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับการนำส่งงบการเงินทางระบบ DBD e-Filing ผ่านทาง DBD Connect ซึ่งเป็นการร่วมกับผู้พัฒนาซอฟแวร์บัญชีเพื่อเชื่อมโยงระบบงานบัญชีเข้าสู่งบการเงินทางออนไลน์ได้โดยทันที ซึ่งขณะนี้มีอยู่จำนวน 15 ราย จะสามารถช่วยลดการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน ลดระยะเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ทาง Play store
DBD e-service การตรวจค้นข้อมูลนิติบุคคลผ่าน Application
การให้บริการตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล งบการเงิน ร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สมาคมการค้าและหอการค้า ข้อมูลการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ รวมทั้งมีบริการข่าวสาร กิจกรรม โครงการต่างๆ ผ่านมือถือ (Application: DBD e-Service) โดยได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2557 ปัจจุบันมีผู้เข้าใช้บริการกว่า 9.7 ล้านราย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
ISO/IEC 27001 : 2013 มาตรฐานการจัดการข้อมูลด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
กรมได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ISO/IEC 27001:2013 โดยมีขอบเขตครอบคลุมถึงศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Centre) ระบบจดทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) และระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ (e-Secured Transaction) โดยในปี 2561 กรมได้ขยายขอบเขตมาตรฐานเพิ่มเติม โดยครอบคลุมระบบออกหนังสือรับรอง รับรองสำเนาเอกสาร นิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Biz Document : e-Service, e-Certificate file) โดยผ่านการตรวจประเมินเรียบร้อยแล้ว
****************************
ที่มา : กองข้อมูลธุรกิจ ฉบับที่ 17 / วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561