กรมพัฒน์ฯ เปิดคอร์สติวเข้มนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท และเจ้าพนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ เสริมความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
กรมพัฒน์ฯ เปิดคอร์สติวเข้มนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท และเจ้าพนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ
เสริมความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
เสริมความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดสัมมนา "ธุรกิจการค้ากับการระงับข้อพิพาททางเลือก" ให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เจ้าพนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (Call Center) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เสริมความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาท ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ยุคสมัยที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อสภาวการณ์ของโลกในปัจจุบัน อีกทั้งยังต้องอาศัย "ความแม่นยำ และความรวดเร็ว" ในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่างๆ อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในส่วนของภาคเอกชนผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอาจต้องพบเจอกับปัญหาความขัดแย้งในหลายแง่มุม ซึ่งความขัดแย้งเช่นว่านี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อพิพาทอันเกิดจากข้อสัญญาทางธุรกิจ
การบริหารกระบวนการยุติธรรมของรัฐสมัยใหม่ให้มีประสิทธิภาพ รัฐจึงต้องพยายามแสวงหาเครื่องมือและกลไกขึ้นมาเพื่อระงับข้อพิพาทให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วและเป็นธรรม บรรลุวัตถุประสงค์ในอันที่จะคุ้มครองสังคมให้มีความสงบ กระบวนการยุติธรรมในปัจจุบันจึงมีวิธีการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอื่นๆ นอกจากวิธีการทางศาล (Outside of the courtroom) โดยเรียกว่า วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution : ADR) ซึ่งโดยหลักๆ จะแบ่งได้ 4 วิธี คือ การเจรจา (negotiation) การไกล่เกลี่ย (mediation) การประนีประนอมข้อพิพาท (conciliation) และการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (arbitration)
เมื่อเร็วๆนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center : THAC) ได้ร่วมกันจัดสัมมนา "ธุรกิจการค้ากับการระงับข้อพิพาททางเลือก" พร้อมฝึกปฏิบัติ การจำลองสถานการณ์การประนอมข้อพิพาท เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาท
กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ถือได้ว่าเป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้ประชาชน เป็นประโยชน์ในการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือทุกฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันจากกรณีข้อพิพาท ส่งผลให้ข้อพิพาทยุติลงไม่ต้องนำคดีไปสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม อธิบดี กล่าวในท้ายที่สุด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สายด่วน 1570, โทรศัพท์หมายเลข 0 2547 4939 และwww.dbd.go.th สถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) โทรศัพท์หมายเลข 0 2018 1615 www.thac.or.th
การบริหารกระบวนการยุติธรรมของรัฐสมัยใหม่ให้มีประสิทธิภาพ รัฐจึงต้องพยายามแสวงหาเครื่องมือและกลไกขึ้นมาเพื่อระงับข้อพิพาทให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วและเป็นธรรม บรรลุวัตถุประสงค์ในอันที่จะคุ้มครองสังคมให้มีความสงบ กระบวนการยุติธรรมในปัจจุบันจึงมีวิธีการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอื่นๆ นอกจากวิธีการทางศาล (Outside of the courtroom) โดยเรียกว่า วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution : ADR) ซึ่งโดยหลักๆ จะแบ่งได้ 4 วิธี คือ การเจรจา (negotiation) การไกล่เกลี่ย (mediation) การประนีประนอมข้อพิพาท (conciliation) และการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (arbitration)
เมื่อเร็วๆนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center : THAC) ได้ร่วมกันจัดสัมมนา "ธุรกิจการค้ากับการระงับข้อพิพาททางเลือก" พร้อมฝึกปฏิบัติ การจำลองสถานการณ์การประนอมข้อพิพาท เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาท
กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ถือได้ว่าเป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้ประชาชน เป็นประโยชน์ในการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือทุกฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันจากกรณีข้อพิพาท ส่งผลให้ข้อพิพาทยุติลงไม่ต้องนำคดีไปสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม อธิบดี กล่าวในท้ายที่สุด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สายด่วน 1570, โทรศัพท์หมายเลข 0 2547 4939 และwww.dbd.go.th สถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) โทรศัพท์หมายเลข 0 2018 1615 www.thac.or.th
#PoweredByDBD
****************************************
ที่มา : กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ ฉบับที่ 36 / 8 ธันวาคม 2564