โควิด-19 ส่งผล...ทั้งผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) และผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้) ระมัดระวังการขอและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น คาดปี 64 สถานการณ์ดีขึ้น...กลับเป็นปกติ
โควิด-19 ส่งผล...ทั้งผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) และผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้)
ระมัดระวังการขอและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น คาดปี 64 สถานการณ์ดีขึ้น...กลับเป็นปกติ
กระทรวงพาณิชย์ เผยโควิด-19 ส่งผล...ทั้งผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) และผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้) ระมัดระวังการขอและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น...ทำให้ตัวเลขจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ปี 2563 มูลค่าลดลง 13% ที่น่าสนใจ... ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร รถยนต์ เรือ สัตว์พาหนะ มีผู้นำมาจดทะเบียนสัญญาหลักประกันฯ เพิ่มสูงขึ้นถึง 49% สิทธิเรียกร้อง ประเภท สิทธิการเช่า เพิ่มขึ้น 42% และ ลูกหนี้การค้า สัญญาจ้าง สัญญาซื้อขาย เพิ่มขึ้น 29% สะท้อนถึงความสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจที่ต้องการให้เอสเอ็มอีและผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากที่สุด โดยนำทรัพย์สินในการประกอบธุรกิจมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้น คาดปี 2564 โควิดเบาบาง..สถานการณ์ดีขึ้น...กลับเป็นปกติ
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มีนาคม 2564) เป็นเวลา 4 ปีกว่าที่มีผู้ใช้ประโยชน์จากกฎหมายฯ ฉบับดังกล่าวแล้ว มูลค่ารวมกว่า 9,395,561ล้านบาท และมีคำขอจดทะเบียนมากถึง 588,791คำขอ สะท้อนถึงความสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฯ ที่ต้องการให้เอสเอ็มอีและผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยนำทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ จากเดิมที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถนำทรัพย์สินอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์มีทะเบียนบางประเภทมาใช้เป็นหลักประกัน กระบวนการบังคับจำนองก็มีความล่าช้าเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ จึงได้มีการตรากฎหมายฉบับนี้ขึ้นเพื่อรองรับการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองแก่เจ้าหนี้
ตลอดปี 2563 มีผู้จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวนทั้งสิ้น 100,461 คำขอ มูลค่ารวม 1,487,186 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 จำนวน 36,380 คำขอ คิดเป็นร้อยละ 36.21 มีมูลค่าลดลง 221,055 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13 (ปี 2562 ผู้จดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 136,841 คำขอ มูลค่า 1,708,241 ล้านบาท) โดยประเภททรัพย์สินที่มีคำขอจดทะเบียนและมูลค่าลดลงสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ทรัพย์สินทางปัญญา มีมูลค่าลดลง คิดเป็นร้อยละ 100 เนื่องจากไม่มีการยื่นขอจดทะเบียนฯ (ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 10 ล้านบาท) 2) ทรัพย์สินประเภทที่ดิน มีมูลค่าลดลง 270 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.63 (ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 271 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 1 ล้านบาท) และ 3) ไม้ยืนต้น มีมูลค่าลดลง 125 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97 (ปี 2562 จดทะเบียนฯมูลค่า 129 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 4 ล้านบาท)
รมช.พณ. กล่าวเพิ่มว่า แต่ที่น่าสนใจก็คือ ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร รถยนต์ เรือ สัตว์พาหนะ และสังหาริมทรัพย์อื่น มีผู้นำมาจดทะเบียนหลักประกันฯ มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น 135,193 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49 (ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 278,572 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 413,765 ล้านบาท) รวมถึง สิทธิเรียกร้อง ประเภท สิทธิการเช่า มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น 22,714 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42 (ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 54,440 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 77,154 ล้านบาท) และ ลูกหนี้การค้า สัญญาจ้าง สัญญาซื้อขาย มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น 87,891 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29 (ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 303,356 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 391,246 ล้านบาท)
จำนวนคำขอและมูลค่ารวมที่ลดลงของปี 2563 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยทั้งผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) และผู้รับหลักประกัน (สถาบันการเงิน/เจ้าหนี้) ต่างมีความระมัดระวังในการขอและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และรอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความสำเร็จของการฉีดวัคซีนฯ สภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้ง ปัจจัยอื่นๆ ประกอบการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินก่อนตัดสินใจลงทุน อย่างไรก็ตาม คาดว่าปี 2564 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทุเลาเบาบางลง การนำทรัพย์สินประเภทต่างๆ มาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นและกลับสู่ภาวะปกติ
นอกจากนี้ วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะจัดสัมมนาเรื่อง กลยุทธ์ในการพิจารณาทรัพย์หลักประกันและการบังคับหลักประกัน แก่กลุ่มผู้รับหลักประกัน ผู้บังคับหลักประกัน โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านหลักประกันทางธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนมาให้ความรู้พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้แก่
การพิจารณาทรัพย์แต่ละประเภท *การบังคับทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ทรัพย์ประเภทไม้ยืนต้น/วิธีการประเมินมูลค่าไม้ และ ประสบการณ์ในการบังคับทรัพย์ประเภทกิจการ เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินและผู้รับหลักประกันอื่น ได้มีแนวทางในการพิจารณาทรัพย์ของผู้ยื่นขอสินเชื่อตามกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนให้กับผู้ขอสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งการสัมมนาฯ ดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ครบตามจำนวนที่กำหนดแล้ว ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำลังจะจัดสัมมนาฯ ขึ้นอีกครั้งช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาฯ (โดยไม่มีค่าใช้จ่าย) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0 2547 4944 e-Mail : training.stro@gmail.com หรือ สายด่วน 1570 และ www.dbd.go.th รมช.พณ.กล่าวทิ้งท้าย
การพิจารณาทรัพย์แต่ละประเภท *การบังคับทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ทรัพย์ประเภทไม้ยืนต้น/วิธีการประเมินมูลค่าไม้ และ ประสบการณ์ในการบังคับทรัพย์ประเภทกิจการ เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินและผู้รับหลักประกันอื่น ได้มีแนวทางในการพิจารณาทรัพย์ของผู้ยื่นขอสินเชื่อตามกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนให้กับผู้ขอสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งการสัมมนาฯ ดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ครบตามจำนวนที่กำหนดแล้ว ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำลังจะจัดสัมมนาฯ ขึ้นอีกครั้งช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาฯ (โดยไม่มีค่าใช้จ่าย) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0 2547 4944 e-Mail : training.stro@gmail.com หรือ สายด่วน 1570 และ www.dbd.go.th รมช.พณ.กล่าวทิ้งท้าย
สถิติการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ (4 กรกฎาคม 2559 - 15 มีนาคม 2564) มีผู้มาขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว จำนวน 588,791 คำขอ จำนวนเงินสูงสุดที่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน รวมทั้งสิ้น 9,395,561 ล้านบาท โดยสิทธิเรียกร้องยังคงเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 76.84 (มูลค่า 7,219,626 ล้านบาท) รองลงมา สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ เครื่องจักร รถยนต์ เรือ เครื่องบิน สัตว์พาหนะ คิดเป็นร้อยละ 23.125 (มูลค่า 2,172,312 ล้านบาท) ทรัพย์สินทางปัญญา คิดเป็นร้อยละ 0.02 (มูลค่า 1,985 ล้านบาท) กิจการ คิดเป็นร้อยละ 0.01 (มูลค่า 1,107 ล้านบาท) อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 0.004 (มูลค่า 397 ล้านบาท) และ ไม้ยืนต้น คิดเป็นร้อยละ 0.001 (มูลค่า 134 ล้านบาท)
#วีรศักดิ์ดูแล #WeerasakTakecare
*******************************************
ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ ฉบับที่ 73 / วันที่ 17 มีนาคม 2564