บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย เป็นปีที่ 2

บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย เป็นปีที่ 2 เพื่อช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
หวังการจ้างงานในท้องถิ่นจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้
 
 
                                     นับเป็นปีที่ 2 แล้วที่บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง ประเทศไทย จำกัด หรือ P&G ได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย จัดโครงการอบรมผู้ประกอบธุรกิจค้าส่ง-ปลีกในยุค 4.0 หรือ "Retail Business 4.0 Conference" ภายใต้หัวข้อ อนาคตที่เรากำหนดได้ หรือ "The future is now" ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 โดยการอบรมในครั้งนี้ประกอบไปด้วยการสัมมนาและพูดคุยระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่ง-ปลีกขนาดเล็กและกลาง ซึ่งเป็นผู้ประกอบการกลุ่มพื้นฐานที่สร้างความมั่นคงต่อกลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย มีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมค้าส่ง-ปลีกของไทยด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจของบริษัท พี แอนด์ จี และ บริษัทคู่ค้าหลัก
 
                                     นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวว่า "ทางภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของรากฐานธุรกิจที่แข็งแรงเพื่อที่จะช่วยกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ทางรัฐบาลจึงอยากสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันสร้างแบบแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของเรา ในวันนี้กระทรวงพาณิชย์พร้อมความช่วยเหลือจากสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทยได้มีการจัดอบรมหัวข้อ อนาคตที่เรากำหนดได้ หรือ "The future is now" ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมมือกับบริษัท พี แอนด์ จี บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรายใหญ่ของโลกรวมถึงในไทย พร้อมด้วยสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนและพัฒนากลุ่มธุรกิจค้าส่ง-ปลีก ให้ก้าวหน้าเทียบทันเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล
 
                                     เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบการธุรกิจในสังคมไทย ในยุคดิจิทัลลักษณะการแข่งขันทางการตลาดและพฤติกรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันในด้านราคาหรือการบริหารธุรกิจในรูปแบบเดิมอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการก้าวไปเป็นผู้นำในการแข่งขัน ดังนั้นคู่ค้าธุรกิจค้าปลีก-ส่งของเรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจโดยการนำวัตกรรม เทคโนโลยี และกลยุทธ์ทางธุรกิจสมัยใหม่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนการเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่ เพิ่มความเข้าใจในความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า และพัฒนานวัตกรรมรูปแบบการทำธุรกิจ เพื่อยกระดับการเติบโตของธุรกิจในกลุ่มค้าส่ง-ปลีกในประเทศไทย
 
                                     ทั้งนี้นายราฟฟี ฟาจาร์โด กรรมการผู้จัดการบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ประเทศไทย พม่าและลาว กล่าวว่า "ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา บริษัทของเราได้มีการร่วมมือกับรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะพัฒนาเศรษฐกิจโดยการช่วยให้ธุรกิจของคู่ค้าธุรกิจค้าส่ง-ปลีกของเราเติบโต ในปีนี้เป็นปีที่ 2 แล้วที่พีแอนท์จีได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์จัดโครงการอบรมผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่ง-ปลีกในยุค 4.0 ซึ่งถือเป็นโครงการพันธกิจของเราที่จะช่วยนำประเทศไทยสู่ยุค 4.0 ในปีนี้เราเล็งเห็นความต้องการของคู่ค้าทางธุรกิจของเราอย่างชัดเจนในการปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพัฒนารูปแบบการทำธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยจำนวนของผู้เข้าร่วมที่มากขึ้นกว่า 250 หน่วยงานในปีนี้ ยิ่งยืนยันความต้องการในการสนับสนุนของเราที่มีต่อรัฐบาลไทยที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของรากฐานเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นที่แข็งแรงและความต้องการการช่วยเหลือของธุรกิจคู่ค้าให้กำหนดอนาคตทางธุรกิจของตัวเองได้"
 
                                   ผู้เข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ยังได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในหลายกลุ่มธุรกิจและผู้นำทางด้านดิจิทัลในเรื่องของการพัฒนาธุรกิจ เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในหัวข้อหลักอาทิเช่นคือ การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ การพัฒนาธุรกิจครอบครัวอย่างไรจากรุ่นสู่รุ่น การเรียนรู้ที่จะปรับปรุงการออกแบบประสบการณ์การซื้อของลูกค้าแบบ Seamless และการนำ Digital transformation เข้ามาใช้ในธุรกิจค้าส่ง-ปลีก"
 
                                     หนึ่งในวิทยากรหลัก คุณ เบน คิง กรรมการผู้จัดการบริษัท กูเกิ้ล (ประเทศไทย) ได้กล่าวเพิ่มเติม รายงานประจำปีพ.ศ.2562 ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จาก กูเกิ้ล-เทมาเส็ก บ่งชี้ว่า ธุรกิจด้านอินเทอร์เน็ตจะเติบโตจนมีมูลค่าถึง 43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ.2568 ธุรกิจที่นำการเติบโตนี้เป็นธุรกิจ SME ถึง 99.7% ซึ่งเป็น 42% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย แต่เรายังควรผลักดัน การช่วยเหลือธุรกิจไทยให้เติบโตและประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล ความมุ่งมั่นของกูเกิ้ลประเทศไทย คือการช่วยให้คนไทยและธุรกิจไทย มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างแพร่หลาย ในหลายปีที่ผ่านมาเราได้มุ่งเน้นองค์กรของเราในการเข้าถึง ให้การศึกษา เพิ่มเนื้อหาและผลิตภัณฑ์ และธุรกิจ SME เราหวังว่าเครื่องมือเช่น Google My Business ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้งานง่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถมีบทบาททางโลกออนไลน์ ทั้งใน Google Search และ Maps ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่และเพิ่มความสนใจกับกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน เรามีความยินดีที่ได้ร่วมงานกับ พี แอนด์ จี เพื่อช่วยพัฒนา ธุรกิจ SME ในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล และช่วยให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ยุค 4.0
 
                                      ปลัดกระทรวงพาณิชย์ยังได้กล่าวอีกว่า "จากการอบรมครั้งนี้ เจ้าของธุรกิจในท้องถิ่นจะมีความสามารถในการนำความรู้ใหม่ๆ และเครื่องมือทางดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจของตนเอง ธุรกิจในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าส่งรายใหญ่ ถือเป็นกุญแจสำคัญในระบบนิเวศทางธุรกิจของไทย ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์หวังที่จะให้ธุรกิจผู้ค้าส่งรายใหญ่เป็นต้นแบบให้กับผู้ค้าส่ง-ปลีกรายย่อย และร้านธงฟ้าประชารัฐก็จะเป็นตัวช่วยสำหรับการเตรียมความพร้อมในการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ร้านค้าเหล่านี้เติบโตได้อย่างยั่งยืนรวดเร็ว มีความเป็นอิสระ และมีการจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจระหว่างบริษัทมากขึ้น"
 
                                      นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ยังได้กล่าวปิดท้ายว่า "ภายในสิ้นปี 2019 เรามีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากลุ่มธุรกิจค้าส่ง-ปลีกจะช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงานในระดับท้องถิ่น นอกจากนี้การเติบโตของกลุ่มธุรกิจนี้ ยังจะช่วยสร้างสินค้าที่หลากหลายให้กับร้านค้าปลีกขนาดเล็กและช่วยให้ร้านค้ากลุ่มนี้เติบโต ซึ่งถือเป็นหนึ่งวิธีในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว การผสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมค้าปลีก อย่างเช่น บริษัทพีแอนด์จี นับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะร่วมกันผลักดันเศรษฐกิจไทยในอนาคตให้มีความเข้มแข็ง"
 
**********************
ที่มา : กรมพัฒนาธุกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์                            ฉบับที่ 90 / 16 พฤษภาคม 2562