หลักการ SMART Local
เศรษฐกิจฐานรากเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งผู้ประกอบการสินค้าพื้นถิ่นถือเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง และเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างมีศักยภาพ เกิดการพึ่งพาและเกื้อกูลกันของคนในชุมชน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ชุมชนมีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยกองธุรกิจภูมิภาคและชุมชน มุ่งเน้นพัฒนายกระดับสร้างมูลค่าสินค้าพื้นถิ่น การเพิ่มโอกาสทางการค้าและขยายช่องทางการตลาดสินค้าพื้นถิ่นให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย พร้อมทั้ง การเตรียมพร้อมผู้ประกอบการสินค้าพื้นถิ่นให้มีการปรับตัวอย่างทันการณ์หรือก้าวล้ำเป็นผู้นำในตลาดท้องถิ่น โดยนำแนวคิด DBD SMART LOCAL มาใช้ในการยกระดับสินค้าพื้นถิ่นไทย ชูอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างจุดเด่นและความแตกต่าง ซึ่ง SMART LOCAL มีหลักการพัฒนาประกอบด้วย
S = Superlative สุดยอดสินค้าพื้นถิ่นไทย
M = Modern ทันสมัย เจาะกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่
A = Attractive เสน่ห์อัตลักษณ์ไทย ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
R = Remarkable โดดเด่น มีเอกลักษณ์ มีนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่า และมีรสนิยม
T = Trust มั่นใจในคุณภาพ มีมาตรฐานสินค้าที่เชื่อถือได้
DBD SMART LOCAL ครอบคลุม 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ กินดี (อาหารและเครื่องดื่ม) อยู่ดี (ของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก) ดูดี (ผ้าและเครื่องแต่งกาย) สวยดี (สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร) เน้นเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ สร้างงานในท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อช่วยกระตุ้นตลาดสินค้าชุมชน ขยายโอกาสทางการตลาด เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้ง ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของแต่ละท้องถิ่น
A = Attractive เสน่ห์อัตลักษณ์ไทย ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
R = Remarkable โดดเด่น มีเอกลักษณ์ มีนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่า และมีรสนิยม
T = Trust มั่นใจในคุณภาพ มีมาตรฐานสินค้าที่เชื่อถือได้
DBD SMART LOCAL ครอบคลุม 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ กินดี (อาหารและเครื่องดื่ม) อยู่ดี (ของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก) ดูดี (ผ้าและเครื่องแต่งกาย) สวยดี (สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร) เน้นเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ สร้างงานในท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อช่วยกระตุ้นตลาดสินค้าชุมชน ขยายโอกาสทางการตลาด เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้ง ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของแต่ละท้องถิ่น