พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 (รวมล่าสุด)

พระราชบัญญัติ
หอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙

--------------------------------------------------------------------------------

 

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙
เป็นปีที่ ๒๑ ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยหอการค้า
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙"

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้ว ในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

หมวด ๑

บททั่วไป

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
"หอการค้า"* หมายความว่า สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า การบริการ การประกอบวิชาชีพอิสระ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน
"รัฐวิสาหกิจ"* รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเฉพาะที่เป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการค้า การบริการ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ
"สหกรณ์"* หมายความว่า สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์เฉพาะที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการค้า การบริการ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓
"นายทะเบียน" หมายความว่า นายทะเบียนกลางหอการค้า หรือนายทะเบียนหอการค้าประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี
"พนักงานเจ้าหน้าที"่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้าย พระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
[ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙]  
[ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙]  
[ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙]  
[ดูประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒]   

หมวด ๒

การจัดตั้งหอการค้า

มาตรา ๖ หอการค้ามี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้

(๑) หอการค้าจังหวัด
(๒) หอการค้าไทย
(๓) หอการค้าต่างประเทศ
(๔) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

มาตรา ๗* ให้จัดตั้งสำนักงานกลางทะเบียนหอการค้าขึ้นในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อควบคุมการออกใบอนุญาตและการจดทะเบียนหอการค้าทั่วราชอาณาจักร และทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนหอการค้าประจำกรุงเทพมหานคร
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนหอการค้าประจำจังหวัดขึ้นตรงต่อสำนักงานกลางทะเบียนหอการค้า
ให้อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มอบหมายเป็นนายทะเบียนกลางหอการค้าและนายทะเบียนหอการค้าประจำกรุงเทพมหานคร และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนหอการค้าประจำจังหวัด

[ดูระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนหอการค้า ว่าด้วยการจดทะเบียนหอการค้า พ.ศ. ๒๕๔๗] 
[ดูระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนหอการค้า ว่าด้วยการจดทะเบียนหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒]

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔

มาตรา ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งหอการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
การตั้งสาขาหอการค้าจะกระทำมิได้

มาตรา ๙ การขออนุญาตนั้น ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งมีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
[ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙] 

มาตรา ๑๐* เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขออนุญาตและพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อบังคับไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ หรือต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และผู้เริ่มก่อการจัดตั้งเป็นผู้ซึ่งมีความประพฤติดี ให้นายทะเบียนสั่งอนุญาต และออกใบอนุญาตหอการค้าให้แก่ผู้ขออนุญาต พร้อมทั้งจดทะเบียนหอการค้าให้ด้วย

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๕
ถ้านายทะเบียนมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แจ้งคำสั่งเป็นหนังสือไปยังผู้ขออนุญาตโดยมิชักช้า ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ โดยยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
การอนุญาตให้ตั้งหอการค้าและการเลิกหอการค้า ให้นายทะเบียนกลางหอการค้าประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๑๑ ให้หอการค้าที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล

มาตรา ๑๒ ถ้าใบอนุญาตหอการค้าสูญหายหรือถูกทำลายให้หอการค้ายื่นคำขอรับใบแทน

มาตรา ๑๓ หอการค้าต้องมีข้อบังคับ และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อ
(๒) วัตถุที่ประสงค์
(๓) ที่ตั้งสำนักงาน
(๔) วิธีรับสมาชิกและให้สมาชิกออกจากหอการค้าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(๕) การดำเนินกิจการของหอการค้า การตั้ง การออกจากตำแหน่ง และการประชุมของกรรมการตลอดจนการประชุมใหญ่
ข้อบังคับของหอการค้าต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน พร้อมกับการยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งหอการค้า ก่อนออกใบอนุญาต ถ้านายทะเบียนเห็นสมควร จะสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนั้นก็ได้

มาตรา ๑๔* หอการค้าจังหวัดจะจัดตั้งขึ้นได้จังหวัดละหนึ่งหอการค้า โดยหอการค้าจังหวัดในกรุงเทพมหานครให้เรียกว่าหอการค้าไทย
หอการค้าต่างประเทศจะจัดตั้งขึ้นได้เพียงประเทศละหนึ่งหอการค้า

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๖

มาตรา ๑๕ หอการค้าไทย หอการค้าต่างประเทศ สมาคมการค้า รัฐวิสาหกิจและสหกรณ์ อาจรวมกันจัดตั้งขึ้นเป็นสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้

มาตรา ๑๖ ชื่อของหอการค้าต้องเป็นอักษรไทย แต่จะมีอักษรต่างประเทศกำกับไว้ท้ายหรือ ใต้ชื่ออักษรไทยด้วยก็ได้ และจะใช้ชื่อได้แต่เฉพาะที่ปรากฏในข้อบังคับเท่านั้น ห้ามมิให้ใช้ ข้อความ "หอการค้าจังหวัด หอการค้าไทย หอการค้าต่างประเทศ หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย" หรือข้อความที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน ประกอบชื่อโดยมิได้เป็นหอการค้าตามพระราชบัญญัตินี้
ให้หอการค้าจัดให้มีป้ายชื่ออ่านได้ชัดเจนติดไว้ที่หน้าสำนักงาน

มาตรา ๑๗ ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อที่มีอักษรไทยประกอบว่า "หอการค้า" หรือ "สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย" หรืออักษรต่างประเทศซึ่งแปลหรืออ่านว่า "หอการค้า" หรือ "สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย" ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่น อันเกี่ยวกับธุรกิจ โดยมิได้เป็นหอการค้า เว้นแต่เป็นการใช้ในการขออนุญาตจัดตั้งหอการค้า

มาตรา ๑๘ ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาสอบถาม หรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตจัดตั้งหอการค้าได้

หมวด ๓

สมาชิกและคณะกรรมการของหอการค้า

มาตรา ๑๙ หอการค้ามีสมาชิกได้เพียง ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้

(๑) สมาชิกสามัญ
(๒) สมาชิกวิสามัญ
(๓) สมาชิกสมทบ
(๔) สมาชิกกิตติมศักดิ์
สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการหอการค้า

มาตรา ๒๐* ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ สมาชิกของหอการค้าจังหวัด ต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่มีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยเป็น หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นเกินกึ่งจำนวนเงินทุนของนิติบุคคลนั้น และเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า การบริการ การประกอบวิชาชีพอิสระ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ หรือต้องเป็นสมาคมการค้าที่มีสมาชิกซึ่งมีสัญชาติไทยเกินกึ่งจำนวนของสมาชิกทั้งหมด หรือต้องเป็นรัฐวิสาหกิจหรือสหกรณ์
สมาชิกสามัญของหอการค้าจังหวัด นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว จะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่หอการค้าตั้งอยู่ด้วย
บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือสมาคมการค้าที่มิได้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง จะเป็นได้แต่เพียงสมาชิกสมทบของหอการค้าจังหวัดเท่านั้น
สมาชิกของหอการค้าจังหวัดหนึ่ง จะเป็นสมาชิกสมทบของหอการค้าไทย หรือหอการค้าจังหวัดอื่นอีกก็ได้

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๗

มาตรา ๒๑* หอการค้าไทยประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่มีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นเกินกึ่งจำนวนเงินทุนของนิติบุคคลนั้น และเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า การบริการ การประกอบวิชาชีพอิสระ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ หรือเป็นรัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ หรือหอการค้าจังหวัด
หอการค้าจังหวัดต้องเป็นสมาชิกสามัญของหอการค้าไทย
สมาชิกสามัญอื่นยกเว้นหอการค้าจังหวัดจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
สมาชิกของหอการค้าไทย จะเป็นสมาชิกสมทบของหอการค้าจังหวัดอื่นอีกก็ได้

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๗

มาตรา ๒๒* หอการค้าต่างประเทศประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร และเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติประเทศของหอการค้านั้น หรือนิติบุคคลที่มีบุคคลธรรมดาสัญชาติ ประเทศของหอการค้านั้นเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นตั้งแต่กึ่งจำนวนเงินทุนของนิติบุคคลนั้น รวมทั้งสาขาของนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศของหอการค้านั้นเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด และเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจในทางการค้า การบริการ การประกอบวิชาชีพอิสระ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ
หอการค้าต่างประเทศต้องเป็นสมาชิกของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๗

มาตรา ๒๓* สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนหอการค้าต่างประเทศ หอละห้าคน ผู้แทนสมาคมการค้าสมาคมละสองคน ผู้แทนรัฐวิสาหกิจแห่งละสองคนผู้แทนสหกรณ์แห่งละสองคน และผู้แทนหอการค้าไทยมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ผู้แทนหอการค้าไทยตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วยผู้แทนหอการค้าจังหวัดทุกจังหวัดที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทย
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด หอการค้าต่างประเทศ สมาคมการค้า หรือสหกรณ์ จะเป็นได้แต่เพียงสมาชิกสมทบของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเท่านั้น

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๗

มาตรา ๒๔ ให้มีคณะกรรมการหอการค้า ดังต่อไปนี้

(๑) คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดประกอบด้วยกรรมการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญ มีจำนวนตามข้อบังคับของหอการค้าจังหวัดนั้น
(๒) คณะกรรมการหอการค้าไทยประกอบด้วยกรรมการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญ มีจำนวนตามข้อบังคับของหอการค้าไทย แต่ในจำนวนนี้ต้องเลือกตั้งจากสมาชิก
ซึ่งเป็นผู้แทนหอการค้าจังหวัดต่าง ๆ ด้วยรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน (๓) คณะกรรมการหอการค้าต่างประเทศประกอบด้วยกรรมการซึ่งที่ประชุมใหญ่แห่งหอการค้าต่างประเทศ เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญ มีจำนวนตามข้อบังคับของหอการค้าต่างประเทศนั้น
(๔)* คณะกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย
(ก) ประธานกรรมการหอการค้าไทยเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง
(ข) รองประธานกรรมการสี่คน โดยให้คณะกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเลือกตั้ง จากกรรมการฝ่ายหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด หอการค้าต่างประเทศ และสมาคมการค้า ฝ่ายละหนึ่งคน
(ค) กรรมการตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โดยที่ประชุมใหญ่สมาชิกเลือกตั้ง มาจากผู้แทนหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด หอการค้าต่างประเทศ และสมาคมการค้า ฝ่ายละเท่ากัน
(ง) กรรมการซึ่งกระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งจากผู้แทนรัฐวิสาหกิจและสหกรณ์รวมกันจำนวนหกคน

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘

หมวด ๔

การดำเนินกิจการของหอการค้า
มาตรา ๒๕* ให้หอการค้ามีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของหอการค้า และเป็นผู้แทนของหอการค้าในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการจะมอบหมายให้กรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหารของ หอการค้าในระดับผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการทำการแทนก็ได้

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๙

มาตรา ๒๖ นอกจากการออกจากตำแหน่งกรรมการตามข้อบังคับของหอการค้าแล้ว ให้กรรมการหอการค้าออกจากตำแหน่งเมื่อเป็นบุคคลล้มละลายหรือเมื่อต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ ตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่มีสิทธิเป็นกรรมการหอการค้าใดๆ อีก เว้นแต่จะพ้นกำหนดสามปี นับแต่ได้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย หรือนับแต่วันพ้นโทษ
*ในกรณีที่กรรมการที่มิใช่กรรมการซึ่งกระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ และวาระของกรรมการเหลือไม่น้อยกว่าสองเดือน ให้คณะกรรมการเลือกบุคคลตามมาตรา ๒๔ แล้วแต่กรณี เข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการแทน และให้บุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนนั้น อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๐

มาตรา ๒๗ สมาชิกของหอการค้ามีสิทธิขอตรวจสอบกิจการและทรัพย์สินของหอการค้าได้ โดยยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อหอการค้า

มาตรา ๒๘ หอการค้ามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)* ส่งเสริมการค้า การบริการ การประกอบวิชาชีพอิสระ อุตสาหกรรม เกษตรกรรมการเงินหรือเศรษฐกิจโดยทั่วไป เช่น รวบรวมสถิติ เผยแพร่ข่าวสารการค้า วิจัยเกี่ยวกับการค้า และการเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว การออกใบรับรองแหล่งกำเนิดของสินค้า การวางมาตรฐานแห่งคุณภาพของสินค้า การตรวจสอบมาตรฐานสินค้า จัดตั้งและดำเนินการสถานการศึกษาที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ พิพิธภัณฑ์สินค้า การจัดงานแสดงสินค้า การเป็นอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาททางการค้า

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๑
(๒)* รับปรึกษาและให้ข้อแนะนำแก่สมาชิกเกี่ยวกับการค้า การบริการ การประกอบวิชาชีพอิสระ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ และช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของสมาชิก

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๑
(๓) ให้คำปรึกษาและเสนอข้อแนะนำแก่รัฐบาลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
(๔) ประสานงานในทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการค้ากับทางราชการ
(๕) ปฏิบัติกิจการอื่น ๆ ตามแต่จะมีกฎหมายระบุให้ เป็นหน้าที่ของหอการค้า หรือตามที่ทางราชการมอบหมาย

มาตรา ๒๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๘ ห้ามมิให้หอการค้ากระทำการใด ๆ ดังต่อไปนี้
(๑)* ประกอบวิสาหกิจโดยหอการค้านั้นเอง หรือเข้าดำเนินการในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิก หรือเข้ามีส่วน ถือหุ้น เป็นหุ้นส่วน หรือร่วมทุนในการประกอบวิสาหกิจกับบุคคลใดๆ เว้นแต่เป็นการถือตราสารหนี้ หรือเข้าถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่หอการค้า

 

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๒
(๒) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ ในอันที่จะกดราคาสินค้าหรือค่าบริการให้ตกต่ำเกินสมควร หรือทำให้สูงเกินสมควร หรือทำให้เกิดปั่นป่วนเกี่ยวกับราคาสินค้าหรือค่าบริการ
(๓)* ให้เงิน หรือให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิกหรือบุคคลอื่นใด เว้นแต่เป็นการให้เพื่อการกุศลสาธารณะ หรือตามหน้าที่ศีลธรรม หรือตามควรแก่อัธยาศัยในสังคม หรือเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานของหอการค้า

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๓
(๔) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ เพื่อเพิ่ม ลด หรือกำกัดปริมาณการผลิต ปริมาณสินค้าที่จำหน่ายหรือบริการอื่น และการดำเนินการดังกล่าวนั้นเป็นผลเสียหายแก่ตลาดการค้า การเงิน ภายในหรือภายนอกประเทศ หรือเศรษฐกิจของประเทศ
(๕) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายการแข่งขันอันพึงมีตามปกติวิสัยของการประกอบวิสาหกิจ เว้นแต่จะเป็นการปฏิบัติตามนโยบายหรือระเบียบของทางราชการ
(๖) ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ หรือ ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(๗) กีดกันหรือขัดขวางมิให้ผู้ใดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกได้ตามข้อบังคับ ของหอการค้าเข้าเป็นสมาชิก หรือบังคับด้วยประการใด ๆ ให้เข้าเป็นสมาชิกโดยผู้นั้นไม่สมัครใจ หรือให้สมาชิกออกจากหอการค้าโดยเจตนาอันไม่สุจริต หรือขัดต่อข้อบังคับของหอการค้า
(๘) เปิดเผยสถิติ เอกสาร หรือข้อความอันเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนได้เสีย โดยเฉพาะของสมาชิกผู้ใด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสมาชิกผู้นั้น
(๙)* ให้ หรือยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการดำเนินกิจการในหน้าที่ของกรรมการ เว้นแต่ผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายตามมาตรา ๒๕

--------------------------------------------------------------------------------
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๔

มาตรา ๓๐ ห้ามมิให้หอการค้าแบ่งปันผลกำไรหรือรายได้ให้แก่สมาชิก หรือดำเนินการในทางการเมือง

  NEXT PAGE