พระราชบัญญัติสมาคมการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติ |
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน |
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติสมาคมการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐" มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"มาตรา ๑๐ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขออนุญาต และพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อบังคับไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ หรือต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และผู้เริ่มก่อการจัดตั้งเป็นผู้ซึ่งมีความประพฤติดี ให้นายทะเบียนสั่งอนุญาต และออกใบอนุญาตสมาคมการค้าให้แก่ผู้ขออนุญาต พร้อมทั้งจดทะเบียนสมาคมการค้าให้ด้วย" มาตรา ๕ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"(๑) ประกอบวิสาหกิจโดยสมาคมการค้านั้นเอง หรือเข้าดำเนินการในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิก หรือเข้ามีส่วน ถือหุ้น เป็นหุ้นส่วน หรือร่วมทุนในการประกอบวิสาหกิจกับบุคคลใดๆ เว้นแต่เป็นการถือตราสารหนี้ หรือเข้าถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่สมาคมการค้า" มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(๓) ให้เงิน หรือให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิกหรือบุคคลอื่นใด เว้นแต่เป็นการให้เพื่อการกุศลสาธารณะ หรือตามหน้าที่ศีลธรรม หรือตามควรแก่อัธยาศัยในสังคม หรือเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานของสมาคมการค้า" มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ถ้านายทะเบียนเห็นว่าผู้ได้รับการตั้งให้เป็นกรรมการนั้นเป็นผู้ซึ่งมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือมีเหตุอันควร สงสัยว่าอาจเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ หรือต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับจดทะเบียนผู้นั้นเป็นกรรมการของสมาคมการค้าได้" มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๓๕ ถ้าที่ประชุมใหญ่ของสมาคมการค้าลงมติอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมการค้า เมื่อสมาชิกคนหนึ่งคนใดหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ ให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่นั้น เสีย แต่ในกรณีที่สมาชิกร้องขอให้เพิกถอนให้กระทำภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ลงมตินั้น" มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๓๖ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้เลิกสมาคมการค้าได้ในกรณีดังต่อไปนี้ มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ "มาตรา ๕๔/๑ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้และ เมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่ได้เปรียบเทียบแล้ว ให้คดีเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา" ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว ทำให้บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินกิจการของสมาคมการค้า ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
|